กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3541
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์
dc.contributor.authorสมจิตต์ ปาละกาศ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-03T02:49:46Z
dc.date.available2019-05-03T02:49:46Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3541
dc.description.abstractเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผลิตได้จากจุลินทรีย์หลากหลายชนิดโดยเฉพาะในแบคทีเรียกลุ่มแลคติกโดยจะถูกขับออกสู่นอกเซลล์ในระหว่างการเจริญ มีลักษณะเป็นเมือกหรือติดอยู่กับเซลล์ในรูปของแคปซูล ซึ่งได้รับความสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืด และเพิ่มความคงตัว สำหรับการศึกษาครั้งนี้ เป็นการผลิตเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์จากน้ำเชื่อมเหลือทิ้งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เงาะกึ่งแห้งและแหล่งคาร์บอนราคาถูกโดยการเลี้ยงแบคทีเรียแลคติก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Lactobacillus plantarum TISTR 050, Lactobacillus plantarum TISTR 096 และ Lactobacillus casei TISTR 047 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ MRS, BMM และ SDM พบว่า L. casei TISTR 047 ที่เลี้ยงในอาหาร MRS ปรับค่าความเป็นกรดด่าง 6.0 ผลิตเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ได้สูงเท่ากับ 4.86±0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนการเลี้ยงด้วยน้ำตาลที่เหลือจากผลิตภัณฑ์เงาะกึ่งแห้งในรูปสารละลายออสโมติกซึ่งเป็นน้ำตาลผสมระหว่างน้ำตาลซูโครสและน้ำตาลโอลิโกฟรุกโตส เป็นแหล่งคาร์บอนทดแทนในอัตราส่วนที่แตกต่างกันจำนวน 7 สูตรพบว่าการเลี้ยง L. casei TISTR 047 ด้วยน้ าตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์เพียงอย่างเดียวให้ปริมาณเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ได้ 49.9±0.66 มิลลิกรัมต่อลิตรการเลี้ยงด้วยน้ำตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์ต่อน้ำมะพร้าว (ร้อยละ 50: 50) ผลิตเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ได้สูงสุดคิดเป็น 69.18±2.07 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อนำมาเลี้ยงด้วยการลดปริมาณแหล่งไนโตรเจน ได้แก่ เพปโตน เนื้อสกัด และยีสต์สกัด ที่ร้อยละ 50 ทำให้เชื้อผลิตเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 107.17±1.05 มิลลิกรัมต่อลิตร และ พบว่าการใช้เด็กซตรินซ์เพียงอย่างเดียว สามารถผลิตเอ็กโซพอลิแซ็กคาไรด์ได้สูงที่สุด 182±1.67 มิลลิกรัมต่อลิตร เนื่องจากเด็กทรินซ์มีจำนวนโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคสสูงกว่าแหล่งคาร์บอนของ กลูโคสไซรัปและน้ำตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์ในการศึกษาการสกัดและวิธีการวิเคราะห์เอ็กโซพอลิแซคคาไรด์ด้วยวิธีแอนโทรนฟีนอลซัลฟูริกและดีเอ็นเอส โดยใช้ตัวทำละลายสองชนิดเป็นตัวสกัดคือ เอทานอลและอะซิโตน พบว่าการใช้อะซิโตนในอัตราส่วนตัวทำละลายต่อน้ำหมัก 4: 1 สกัดเอ็กโซพอลิแซคคาไรด์ได้สูงกว่าเอทานอลและการใช้วิธีแอนโทรนวิเคราะห์ปริมาณเอ็กโซพอลิแซคคาไรด์ที่ผ่านการสกัดได้สูงกว่าวิธีฟีนอล-ซัลฟูริก และดีเอ็นเอสเมื่อตรวจสอบชนิดของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและกรดอินทรีย์พบว่าน้ำตาลโมเลกุล เดี่ยวที่พบประกอบน้ำตาลกลูโคส เป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 73.5 รองลงมาคือ น้ำตาลราฟิโนสร้อย ละ 12.8 ส่วนที่เหลือเป็นน้ำตาลชนิดอื่น ๆ เพียงเล็กน้อย จึงสรุปได้ว่าชนิดตัวอย่างเอ็กโซพอลิแซค คาไรด์ที่เป็น hetaloexopolysaccharide ส่วนปริมาณกรดอินทรีย์ พบกรดซิตริกเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ กรดแลคติก และกรดอะซิติก ตามลำดับth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectแซ็กคาไรด์th_TH
dc.subjectโพลิแซ็กคาไรด์th_TH
dc.subjectโพลิเมอร์ชีวภาพth_TH
dc.subjectโพลิแซ็กคาไรด์จากจุลินทรีย์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการผลิตสารเอกโซโพลีแซกคาไรด์จากน้ำตาลที่เหลือจากกระบวนการออสโมซิสth_TH
dc.typeResearch
dc.author.emailk_ratanapradit@yahoo.comth_TH
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeExopolysaccharides (EPSs) are biopolymers produced by many species of microorganisms,in particular, lactic acid bacteria. Normally, EPSs will be secreted during microorganism growth in form of mucus or capsules that attach to microbial cells. EPSs are of worldwide interest in food industries. It was applied as texture thickening agent stabilizer enhancement agents for various products. In this study, EPSs were produced from residual syrup from semi- dried rambutan production and other cheap carbon sources. Each of 3 lactic acid bacteria namely, Lactobacillus plantarum TISTR 050, Lactobacillus plantarum TISTR 096 andLactobacillus casei TISTR 047 was cultured in 3 types of culture media including MRS, BMM and SDM. It was found that L. casei TISTR 047 cultured in MRS (pH 6.0) gave highest EPSs of 4.86±0.15 mg/L. Thereafter, L. casei TISTR 047 was cultured inculture media containing 7 different proportions of residual osmotic solution of syrup from semi-dried rambutan production which was a mixture of sucrose and oligofructose that used as carbon source instead of glucose. L. casei TISTR 047 cultured in media contained oligosaccharide alone produced 49.9±0.66 mg/L of EPSs while culturing of this bacteria in media contained oligosaccharide and coconut juice ( 50% : 50% ) produced highest EPSs of 69.18±2.07 mg/L. Furthermore, culture of L. casei TISTR 047 in media that reduced expensive nitrogen sources including peptone, beef extract and yeast extract to 50% could produce more EPSs (107.17±1.05 mg/L). Moreover, L. casei TISTR 047 cultured in dextrin alone could produce highest EPSs of 182±1 . 6 7 mg/L. The latter might due to the fact that dextrin contains more glucose molecules than carbon source of glucose syrup and oligosaccharide. Comparison of extraction and EPSs analysis methods were also conducted. Two solvents, ethanol and acetone, were used. It was found that using acetone with ratio to that of reaction mixture of 4:1 could extract more EPSs than ethanol. Three EPSs analysis methods including Anthrone method, Phenol-Sulfuric method and DNS methodwere compared. The analysis results revealed that Anthrone method gave higher values of EPSs than those obtained from Phenol-Sulfuric method and DNS method. Types of monosaccharides and organic acid characterized. Glucose and raffinose were observed as major monosaccharide with a value of 73.5% and 12.8%, respectively. The rest were other type of sugar. The results of monosaccharides determination lead to the conclusion that EPSs obtained in this study were hetaloexopolysaccharides. For organic acids, amount of citric acid, lactic acid and acetic acid were found, respectivelyen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_095.pdf1.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น