กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3539
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนามัย เทศกะทึก
dc.contributor.authorธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์
dc.contributor.authorวัลลภ ใจดี
dc.contributor.authorวิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-02T11:12:44Z
dc.date.available2019-05-02T11:12:44Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3539
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจประกอบด้วย สมรรถภาพปอด อาการระบบทางเดินหายใจ ผลเลือดทางชีวเคมีรวมทั้งปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่ออาการระบบทางเดินหายใจ ของเกษตรกรที่เป็นแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก จำนวน 274 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตรวจหาเอนไซม์คลอรีนเอสเตอเรสในเลือดโดยใช้ กระดาษทดสอบพิเศษและตรวจสมรรถภาพปอด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกร จำนวน 274 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.6 อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 30.80 (9.46) ปี ระยะเวลาในการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงครั้งละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 59.9 ระยะเวลาเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 6.02 (1.73) ชั่วโมง การตรวจคัดกรองเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการทดสอบอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ร้อยละ 23.4 มีความเสี่ยง ร้อยละ 2.2 จากการสัมภาษณ์พบว่า เกษตรกรมีอาการไอเมื่อตื่นนอนทันที ร้อยละ 51.4 มีเสมหะเป็นประจำ ร้อยละ 50 แน่น หายใจลำบาก ร้อยละ 37 และเจ็บหน้าอก ร้อยละ 42 ผลการตรวจสมรรถภาพปอด พบค่าเฉลี่ยของ Force Vital Capacity (FVC) เท่ากับ 2.96 (.585) ลิตร ค่า Forced Expiratory Volume Time (FEV1) เท่ากับ 2.64 ลิตร (0.52) และ ค่าเฉลี่ย FEV1/FVC เท่ากับ 89.69% (8.36) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple linear regression) ของตัวแปรอิสระต่อการเปลี่ยนแปลงค่า FVC พบวา เพศ อายุ การปลูกลำไย การรับสัมผัสไอสารกำจัดแมลงเป็นตัว แปรที่มีผลกระทบต่อค่า FVC (R = .59 , R square = .34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และ พบว่า การมีหน้าที่เก็บลำไย เป็นตัวแปรที่มีผลต่อค่า FVC/FEV1 (R = .323, R square = .104) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุลอจีสติก (Multiple logistic regression) ของตัวแปรอิสระกับอาการระบบทางเดินหายใจ พบว่า เพศหญิงมีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.787 (1.210, 6.470) การดื่มสุรามากกว่า 4 แก้วต่อสัปดาห์ มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 4.675 (1.395,15.671) การรับสัมผัสฝุ่นมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 2.743 (1.238, 6.093) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการคัดกรองสมรรถภาพปอดของเกษตรกรที่เป็นแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นเพศชาย ผู้ที่ปลูกลำไย ผู้ที่รับสัมผัสไอสารกำจัดแมลง ส่วนการคัดกรองอาการระบบทางเดินหายใจ คือ ผู้ที่ดื่มสุรา การรับสัมผัสฝุ่น เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการใช้สารกำจัดแมลงมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectระบบทางเดินหายใจ - - โรคth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectชีวเคมีth_TH
dc.subjectย่าฆ่าแมลงth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจและผลเลือดทางชีวเคมี จากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงในแรงงานต่างด้าวในเขตภาคตะวันออก: ปัจจัยที่มีผลกระทบth_TH
dc.title.alternativeOccupational Health Screening on Respiratory Impairment and Blood Biochemical Parameters from Insecticide Exposure among Migrant Workers in Eastern Region: Factors affectingen
dc.typeResearchen
dc.author.emailanamai@buu.ac.th
dc.author.emailteerayut@buu.ac.th
dc.author.emailwanlopj@go.buu.ac.th
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study the respiratory disorder including pulmonary function, respiratory system-related symptom as well as the blood test from biochemical analysis. The study also extended to the factors which affect respiratory disorder among 274 labors who were migrant farmers working in the Eastern part of Thailand. The data collection was conducted through the interview, the blood test serving a cholinesterase enzyme count in blood by using reactive paper as well as pulmonary function tests. The findings of the study had shown that, from 274 informants, the majority of research population was male with 60.6%. The average age (Standard Deviation) was 30.80 (9.46) years-old. 59.9% with 6-8 hours spending in the pesticide spray per one session. The average time period, they spent to spray the pesticide was 6.02 (1.73) hours. Regarding to the screening test that measured the blood cholinesterase among farmers, the study found that the majority of the informants could be categorized as non-risk group or 23.4% whereas the percentage of the risk group was only 2.2%. From the interview, 51.4% of the farmers had developed the after wakeup coughing (coughing immediately after waking up) symptom, 50% had sputum regularly, 37% had shown chest tightness symptom, and 42% had the chest pain symptom. According to the Lung function test, the average Force Vital Capacity (FVC) was 2.96 (.585) liters and the Forced Expiratory Volume Time scale (FEV1) was 2.64 liters (0.52). Thereby, the average FEV1/FVC was obtained as 89.69% (8.36). The result of the Linear regression analysis of independent variables to the FVC value showed that gender, age, longan cultivation, and exposure to insecticide vapors were variables which influenced the interpretation of the FVC at R = .59, R square = .34). Its statistical significance was set at p< .05. It was found that the task to collect longan was the variable which influence the FVC/FEV1 scale at R = .323, R square = .104. Its statistical significance was set at p< .05. According to the Multiple logistic regression analysis of the independent variables to the respiratory symptom, it showed that the female had OR score at (95% CI) 2.787 (1.210, 6.470). And other analyzed information consists of: drinking more than 4 glasses per week had OR score (95% CI) at 4.675 (1.395, 15.671), the exposure to dust more than 4 hours per day had OR scores (95% CI) at 2.743 (1.238, 6.093), respectively. The recommendation obtained from this sturdy is that health screening test on lung function should be given to farmers who are migrant workers, especially for the male farmers, longan cultivators, and farmers who highly exposed to the insecticide vapours. For the respiratory symptoms screening, it should be focused on farmers who regularly consume alcohol and being exposed to the dust. As a result of these factors can potentially increase risk of developing the respiratory system related illness which results from the higher amount of pesticide being useden
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_098.pdf1.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น