กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3435
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการ ทางการเคลื่อนไหว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to self care ability among people with mobility impairment in Banglamung district, Chon Buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญประภา ไสวดี
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
พรนภา หอมสินธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
คนพิการ - - ไทย - - ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างได้แก่คนพิการทางการเคลื่อนไหวในอาเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 293 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยแบบสัมภาษณ์แต่ละชุดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .96, .85 และ .86 ตามลาดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพ และความสามารถในการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี (M = 7.33, SD = 1.40 และ M = 4.72, SD = 0.33 ตามลาดับ) และการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.10, SD = 0.33) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าอายุและระดับความพิการมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.12, p < .05 และ r = -.13, p < .05 ตามลาดับ) การศึกษา ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .20, p < .01; r = .60, p < .001 และ r = .34, p < .001 ตามลาดับ) ส่วนเพศ รายได้ ระยะเวลาพิการไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสาธารณสุขควรนาผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการยกระดับภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่มีอายุมาก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3435
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n1p89-101.pdf535.46 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น