กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3406
ชื่อเรื่อง: ผลของการนวดกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะ ให้นมทางสายให้อาหารต่อความสามารถในการดูดนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of an oral stimulation in preterm infants during tube feeding on feeding performance
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริเพ็ญ ลิมปธรรม
นฤมล ธีระรังสิกุล
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การกระตุ้นประสาทสัมผัส
การนวดสำหรับทารก
การให้นม
ทารกคลอดก่อนกำหนด - - โภชนาการ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะให้นมทางสายให้อาหาร กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหน่วยบริบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ราย กลุ่มทดลองได้รับการนวดกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะให้นมทางสายให้อาหาร ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการนวดกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะให้นมทางสายให้อาหาร แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของทารก แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในช่องปากของทารกแบบบันทึกปริมาณนมและแบบบันทึกระยะเวลาในการหัดดูดนมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองที่ได้รับการนวดกระตุ้นการดูดกลืนในระยะให้นมทางสายให้อาหารมีความสามารถในการดูดนมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในช่องปากและ ปริมาณนมที่ทารกดูดได้ใน 5 นาทีแรกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และกลุ่มทดลองมีระยะเวลาในการหัดดูดนมน้อยกว่ากล่มุ ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการนวดกระตุ้นการดูดกลืนทารกเกิดก่อนกำหนดในระยะให้นมทางสายให้อาหารช่วยให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสามารถในการดูดนมเพิ่มขึ้น ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพควรนำการนวดกระตุ้นการดูดกลืนไปใช้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนดให้ดีขึ้น เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารเพียงพอมีภาวะโภชนาการที่ดี นำไปสู่การเจริญเติบโตที่เหมาะสม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3406
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n4p43-53.pdf233.85 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น