กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3354
ชื่อเรื่อง: ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาลของไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุรัตน์ อนันทนาธร
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี
นภดล วงษ์น้อม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตการทำงาน
ตำรวจนครบาล - - ความพอใจในการทำงาน
แบบจำลองสมการโครงสร้าง
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่างๆที่มีต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาล ประการที่สอง วิเคราะห์และตรวจสอบความตรงของตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่แสดงอิทธิพลของตัวแปรหรือปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาลของไทย การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างจากค่ายการทหารนครบาลทั้งระดับสัญญาบัตรและชั้นประทวนจำนวน 700 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi stage random sampling) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 6 ตอนมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ตั้งแต่ .570-.893 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ตัวแบบด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า ทั่วไปลักษณะงานมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกค่อนข้างต่ำ ต่อตัวแปรแรงจูงใจ (.253) เพื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (.191) แต่มีอิทธิพลทางตรงที่เป็นลบต่อตัวแปรการบริหารองค์การ (-.080) ในขณะที่ตัวแปรรูปแบบของผู้นำมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกอยู่ในรับค่อนข้างสูงต่อตัวแปรแรงจูงใจ (.746) และอยู่ในระดับปานกลางต่อตัวแปรการบริหารองค์การ (.407) แต่มีอิทธิพลที่เป็นลบต่อตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานค่อนข้างต่ำ (-.206) ส่วนตัวแปลแรงจูงใจมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกอยู่ในระดับปานกลางต่อตัวแปรการบริหารองค์การ (.593) และมีอิทธิพลทางตรงอยู่ในระดับต่ำต่อตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงาน (.001) และตัวแปรการบริหารองค์การมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกในระดับสูงต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (.995) กล่าวโดยสรุป คือ ตัวแปรการบริหารองค์การ (ADM) มีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (QWL) ในระดับสูง ส่วนตัวแปรผู้นำและตัวแปรแรงจูงใจมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านตัวแปรการบริหารองค์การจึงทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาล ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างของคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าไค-สแควร์มีค่าเท่ากับ 379.31 องศาอิสระ 336 ระดับนัยยะสำคัญ .052 ระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .963 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่า .963 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองคลองสวนเหลือ (RMR) มีค่า 0.029 ซึ่งแสดงว่า ตัวแบบการปรับปรุงตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยตัวแปรในโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเส้นสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 87.2
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
politic8n2p161-187.pdf1.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น