กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/334
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลกระทบจากการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในเด็กนักเรียนจังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทพร ภัทรพุทธ
นิภา มหารัชพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การควบคุมฝุ่น..ฝุ่น - - แง่สิ่งแวดล้อม
นักเรียน - - สุขภาพอนามัย - - ชลบุรี
ฝุ่น - - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - - ชลบุรี
มลพิษทางอากาศ
วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง โดยทำการประเมินการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็ก, ระดับความเข้มข้นของฝุ่นขนาดเล็กในบริเวณโรงเรียน ตลอดจนภาวะสุขภาพของระบบทางเดินหายใจในเด็กนักเรียน จ.ชลบุรี ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2552 การประเมินผลกระทบจากการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กใช้การตรวจกำกับที่ตัวบุคคลและพื้นที่ กาตรวจวัดสมรรถภาพปอดและการสัมภาษณ์ ในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 410 คน จาก 4 โรงเรียน ผลการวิจัย พบว่า ปริมาณฝุ่น PM10 ในเขตเมืองมีค่าสูงกว่าปริมาณฝุ่นที่อยู่นอกเขตเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 (36±4.58 และ 20.60±1.67 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศในบริเวณโรงเรียนและบริเวณริมถนนหน้าโรงเรียนของโรงเรียนในเมือง มีค่าสูงกว่าโรงเรียนนอกเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 (17.41±6.02 และ 9.16±1.69, 31.38±10.56 และ 12±1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ) และเด็กนักเรียนในเขตเมืองมีปริมาณการรับสัมผัสฝุ่น PM10 ที่ตัวเด็กนักเรียนเฉลี่ย 8 ชั่วโมง สูงกว่าโรงเรียนควบคุมที่อยู่นอกเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 (114.21±11.24 และ 37.66±4.95 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) การตรวจวัดสมรรถภาพปอดในเด็กนักเรียนพบว่า ค่า FVC, FEV1, FEV1/FVC% ของเด็กนักเรียนในเมืองทั้ง 3 โรงและของเด็กนักเรียนนอกเมือง มีค่าไม่แตกต่างกัน เด็กนักเรียนในเมืองร้อยละ 7.7 มีอาการของโรคปอดขาดความยืดหยุ่นชนิดปานกลาง และร้อยละ 23.5 มีอาการของโรคปอดขาดความยืดหยุ่นเล็กน้อย และเพียงร้อยละ 3.5 ที่เด็กเป็นโรคปอดอุดกั้นในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของเด็ก ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ที่ตั้งของโรงเรียน การรับสัมผัสควันบุหรี่และการรับสัมผัสฝุ่นจากการทำความสะอาดบ้าน โดยการรับสัมผัสควันบุหรี่มีผลต่อค่า FEV1/FVC% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.048 และการรับสัมผัสฝุ่นจากการทำความสะอาดบ้านมีผลต่อค่า FVC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = 0.044 ปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 ที่ตรวจวิเคราะห์ได้อยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐานบรรยากาศภายนอกอาคาร และข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่า เด็กนักเรียนที่อาศัยในพื้นที่เขตเมืองมีค่าการตรวจวัดสมรรถภาพปอดที่ไม่แตกต่างจากเด็กนักเรียนนอกเมือง ปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นขนาดเล็กไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการลดลงของสมรรถภาพการทำงานของปอด อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจติดตามเฝ้าระวังสุขภาพของเด็กนักเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่ใกล้โรงโม่หิน ถนนใหญ่ และแหล่งเผาข้าวหลามรวมทั้งควรมีการขยายผลการศึกษาไปยังกลุ่มประชากรเสี่ยงอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกันด้วย เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นต้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/334
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น