กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3337
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอุทิศ บำรุงชีพ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:20Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:20Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3337
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของครูยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการ 2)วิเคราะห์สมรรถนะ พัฒนากรอบสมรรถนะ แผนการพัฒนา สร้างแบบประเมินสมรรถนะฯ 3) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของครู และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูยุคศตวรรษที่ 21 ที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะฯ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากรอบสมรรถนะฯ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สำคัญได้แก่ กรอบสมรรถนะฯ แผนการพัฒนา แบบประเมินสมรรถนะไอซีทีของครู แบบประเมินการวางแผนการพัฒนาตนเองของครู และแบบบันทึกพฤติกรรมการพัฒนาสมรรถนะไอซีที กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนากรอบสมรรถนะ จำนวน 8 ท่าน ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จำนวน 363 คน และศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะจากครู จำนวน 36 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test One-way ANOVA และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีสภาพปัจจุบันในการใช้ไอซีทีติดต่อสื่อสารกับเพื่อนวิชาชีพครูอยู่เสมอในระดับมาก ลำดับรองลงมาคือการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ และใช้ไอซีทีในการแบ่งปันข้อมูลอย่างมีกัลยาณมิตรกับเพื่อนวิชาชีพครูอยู่เสมอ การสืบค้นข้อมูลทางไอซีทีมาใช้ในการพัฒนาตนและพัฒนางานอยู่เสมอ และลำดับความสำคัญของความต้องการสมรรถนะฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะในด้าน 2. กรอบการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของครูยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วยการเรียนรู้และปฏิบัติ 1) เข้าถึงสารสนเทศเพื่อการพัฒนาตนเองและร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพครู 2) ประเมินสารสนเทศและเลือกสรรสื่อ 3) เข้าใจและจัดการสารสนเทศเพื่อสะสมความรู้ 4) ใช้สารสนเทศเพื่อผลิตสื่อและนำเสนออย่างสร้างสรรค์ 5) ใช้เครือข่ายสารสนเทศและเครื่องมือสื่อสารเพื่อการแบ่งปันอย่างมีกัลยามิตร และ 6) สื่อสารสารสนเทศและสะท้อนคิดอย่างมีจรรยาบรรณ 3. ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์แผนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะ ได้แก่ CARE Steps C-Collaborative climate/ A- Activity and Action Learning/ R- Routine work to Reflective Thinking/ E- Evaluation โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถนะด้านไอซีทีของครูยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสังกัด สพม. เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน ด้วยการประเมินตนเองของครูก่อนเข้าร่วมพัฒนาสมรรถนะ และสมรรถนะจำแนกรายด้าน พบว่า สมรรถนะฯมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth
dc.subjectการพัฒนาบุคลากรth_TH
dc.subjectครูth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศth_TH
dc.titleการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของครูยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวเข้าสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพth_TH
dc.title.alternativeThe development of ICT competency of 21st century era teachers for towards the professional learning communityen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume11
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to develop of ICT competency of 21 st century era teachers for towards the professional learning community. The research methods comprised of three steps: Step 1: Studying state and teacher needs of ICT used, Step 2: To analyze in competency frame work, development plan and construct evaluation from of ICT competency. Step 3: Study effects of ICT competency. The instrument of this research consisted of competency frame work, development plan, competency evaluation form, teacher individual development planning, ICT competency abilities evaluation form. The samples of this study were 5 experts who could provide information on the framework of ICT competency, 363 teachers in the secondary educational service area office 18 and 36 teachers for study effects of ICT competency. The data were analyzed by means of content analyses, frequency counts, percentages, mean, standard deviations, t-test, One-way ANOVE. The findings can be summarized as follows: 1. The ICT situation of the secondary educational service area office 18 teachers was found that ICT used to communicate with fellow teachers are always at a high level respectively, followed by the integration of ICT in learning and using ICT to share information with fellow teachers is always a good friend. Searching ICT used in their development and development is unparalleled. The needs of the performance showed that there was a need to develop competencies in all aspects. 2. There were six learns and practice aspects of ICT competency of 21 st century era teachers for towards the professional learning community to learn and practice as follows: 1) Learn & practice to access & collaboration 2) Learn & practice to evaluate & select 3) Learn & practice to Manage & collect 4) Learn & practice to use for creative production & presentation 5) Learn & practice to connect & share and 6) Learn and practice to communication & reflective. 3. Analysis and synthesis action plan development activities, including performance consisted of four steps: CASE Step C-Collaborative climate/ A-Activity and Action Learning/ R-Routine work to Reflective Thinking/ E-Evaluation 4. The results compare the different competencies in ICT competency of 21 st century era teachers for towards the professional learning community samples of 36 people with self-evaluation of teachers prior to development, capacity and competency development classification and performance aspects have found that the performance difference at .05 level of significance and satisfaction of teachers the overall high level.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page189-200.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial11n2p189-200.pdf620.18 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น