กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3336
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.authorศรีวรรณ ยอดนิล
dc.contributor.authorศรีพักตร์ ปั้นน้อย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:20Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:20Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3336
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผละกระทบและการปรับตัวของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียว รวมถึงการกำหนดแนวทางการบริหารการจัดการชุมชนพื้นที่สีเขียวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2557- พฤษภาคม 2558 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มอนุรักษ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาน และคณะกรรมการกลุ่มรักษ์คุ้งบางกะเจ้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิถีชีวิตช่วงการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-6 เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทกลายเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท อาชีพเกษตรกรรมลดลงเปลี่ยนแปลงเป็นอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม ประชาชนบางส่วนไม่มีมีพื้นที่ทำการเกษตรมีเพียงที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว มีการย้ายถิ่นและแยกครอบครัวไปที่อื่น การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเปลี่ยนแปลงจากอยู่ริมแม่น้ำลำคลองเป้นอยู่ริมถนน การสัญจรทางน้ำเปลี่ยนเป็นการสัญจรทางบกสัมพันธภาพของครอบครัวค่อนข้างห่างวเหิน สัมพันธภาพของคนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ ไม่สนิทนสมกัน ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษา ศูนย์กลางทางการศึกษาเปลี่ยนจากวัดเป็นโรงเรียน ด้านประเพณีและวัฒนธรรมยังคงสืบต่อมา ภายหลังเกิดดครงการสวนกลางมหานคร วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน 2. ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียวผลกระทบเชิงบวก คือ 1) ด้านสุขภาพได้รับอากาศบริสุทธิ์ทำให้สุขภาพดี มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ 2) ด้านเศรษฐกิจมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว วิสาหกิจชุมชน 3) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนทั้งด้านการพั?นากลุ่มเกษตรกรกลุ่มอาชีพ และกลุ่้มอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว 4) ด้านวัฒนธรรม มีการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีที่สืบต่อกันมา ผลกระทบเชิงลบคือ 1) มีกฎหมายการห้ามสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร และการแบ่งพื้นที่ใช้ในการเกษตรกรรมร้อยละ 75 พื้นที่อยู่อาศัยร้อยละ 25 2) ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเสีย และ 3) กระแสทุนนิยมทำให้ที่ดินถูกขายให้กับนายทุนเป็นจำนวนมาก 3. การปรับตัวด้านร่างกาย ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป้นอยู่กับธรรมชาติ ด้านอัตมโนทัศน์ประชาชนยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ด้านบทบาทหน้าที่เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว และด้านการพึ่งพามีการพึ่งพาตนเองมากกว่าการพึ่งพาจากผู้อื่น 4. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนเขตพ้นที่สีเขียว ประกอบด้วย 1) การสรา้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) การเาริมสรา้งความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 4) การพัฒนาประเพณีและวัฒนธรรม 5) การพัฒนาการศึกษา 6) การพัฒนาพื้นที่สีเขียว และ 7) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงทางสังคมth_TH
dc.subjectพื้นที่สาธารณะth_TH
dc.titleการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการth_TH
dc.title.alternativeSocial changes of green area communites in Phrapradaeng district, Samutprakan province
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume11
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study social change, impacts adaptation of the green area community, including management guideline for, green area community, Prapadaeng Samutprakarn Province. The data was collected between October, B.E. 2557- May, B.E. 2558 by in-depth interview and focus group discussion among local leaders, conservation officers, local wisdoms, village healthvolunteers, people and board of group Rak Kung Bangkacho. Data were analyzed using conyent analysis. The results showed that: 1. The social change during the National Econmic and Social Development Plan (B.E. 2504-2534): lifestyles were changing from a rural society into a rurban society, changed from agriculture to industrial sector. Some people had no land for agriculture only for housing, changed from extended to single family, migrated to other places. The settlement along the river changed to beside the street, from waterway to land transportation, the family and community relationship changed from closed to distantly, people had educational opportunities, educational center changed from temples to schools. The tradition and culture was transmitted. After the implementation of The Green Area Community Project (B.E.2534), the people in Kung Bangkachao were participated and getting better lifestyle in social, economic, cultural and environmental aspects. 2. The impact of social change of community green area, the positive impact: 1) health aspect; get better health, environment, atmosphere, and recreation area; 2) economic aspect; career for extra income for the family and community enterprises; 3) social aspect; integration of the people in the community to develop farmer groups, conservative groups and professional groups; 4) cultural aspects; local culture preservation. The negative impact: 1) law aspect; the prohibit of building construction not more than a height of 12 meters and land devised into 75 percent of agriculture and 25 percent of residential areas; 2) environmental aspect; the waste problem, waste water; and 3) capitalism aspect; the land was sold to a number of capitalists. 3. The adaptation: physiological mode; people had a way of living with nature; the self-concept mode, people accepted the social changes; the role function mode; cooperative network for the conservation of green area and interdependent mode, self-reliance rather than help from others. 4. The management guideline for community green area consists of 1) the strengthening of economic and social aspects; 2) the infrastructure development; 3) the strengthening of the family institution; 4) the development of tradition and culture; 5) the education development; 6) the development of green areas; and 7) management of natural resources and environmental sustainability.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page154-165.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial11n2p154-165.pdf514.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น