กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3336
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Social changes of green area communites in Phrapradaeng district, Samutprakan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมหมาย แจ่มกระจ่าง
ศรีวรรณ ยอดนิล
ศรีพักตร์ ปั้นน้อย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
พื้นที่สาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผละกระทบและการปรับตัวของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียว รวมถึงการกำหนดแนวทางการบริหารการจัดการชุมชนพื้นที่สีเขียวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2557- พฤษภาคม 2558 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มอนุรักษ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาน และคณะกรรมการกลุ่มรักษ์คุ้งบางกะเจ้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า 1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิถีชีวิตช่วงการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-6 เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทกลายเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท อาชีพเกษตรกรรมลดลงเปลี่ยนแปลงเป็นอาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรม ประชาชนบางส่วนไม่มีมีพื้นที่ทำการเกษตรมีเพียงที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว มีการย้ายถิ่นและแยกครอบครัวไปที่อื่น การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเปลี่ยนแปลงจากอยู่ริมแม่น้ำลำคลองเป้นอยู่ริมถนน การสัญจรทางน้ำเปลี่ยนเป็นการสัญจรทางบกสัมพันธภาพของครอบครัวค่อนข้างห่างวเหิน สัมพันธภาพของคนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ ไม่สนิทนสมกัน ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษา ศูนย์กลางทางการศึกษาเปลี่ยนจากวัดเป็นโรงเรียน ด้านประเพณีและวัฒนธรรมยังคงสืบต่อมา ภายหลังเกิดดครงการสวนกลางมหานคร วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชน 2. ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนเขตพื้นที่สีเขียวผลกระทบเชิงบวก คือ 1) ด้านสุขภาพได้รับอากาศบริสุทธิ์ทำให้สุขภาพดี มีพื้นที่ออกกำลังกาย มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ 2) ด้านเศรษฐกิจมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว วิสาหกิจชุมชน 3) ด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนทั้งด้านการพั?นากลุ่มเกษตรกรกลุ่มอาชีพ และกลุ่้มอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว 4) ด้านวัฒนธรรม มีการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีที่สืบต่อกันมา ผลกระทบเชิงลบคือ 1) มีกฎหมายการห้ามสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร และการแบ่งพื้นที่ใช้ในการเกษตรกรรมร้อยละ 75 พื้นที่อยู่อาศัยร้อยละ 25 2) ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเสีย และ 3) กระแสทุนนิยมทำให้ที่ดินถูกขายให้กับนายทุนเป็นจำนวนมาก 3. การปรับตัวด้านร่างกาย ประชาชนมีวิถีชีวิตความเป้นอยู่กับธรรมชาติ ด้านอัตมโนทัศน์ประชาชนยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ด้านบทบาทหน้าที่เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว และด้านการพึ่งพามีการพึ่งพาตนเองมากกว่าการพึ่งพาจากผู้อื่น 4. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนเขตพ้นที่สีเขียว ประกอบด้วย 1) การสรา้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) การเาริมสรา้งความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 4) การพัฒนาประเพณีและวัฒนธรรม 5) การพัฒนาการศึกษา 6) การพัฒนาพื้นที่สีเขียว และ 7) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3336
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial11n2p154-165.pdf514.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น