กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3265
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of efficiency strategic implementation model in Primary Education Service Area Office under Office of the Basic Education Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมุทร ชำนาญ
ธวัชชัย อุ่ยพานิช
สมบัติ สุวรรณพิทักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารองค์การ
การพัฒนาองค์การ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา - - การบริหาร
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำรักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 5 ภูฒิภาค จำนวน 183 คน จาก 183 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถม ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสำนักงานเขพพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ด้านกลยุทธ์ ได้แก่ การนำกลยุทธ์ไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี 2) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ การจัดโครงสร้างองค์การที่เน้นการทำงานเป็นทีม 3) ด้านระบบ ได้แก่ การพัฒนาระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม การนำกลุยุทธ์ ไปปฏิบัติ 4) ด้านรูปแบบการบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารใช้หลักการการบริหารการจัดการที่ดี เช่น หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 5) ด้านบุคลากร ได้แก่ บุคลากรมีการประชุม ปรึกษาหารือ เมื่อเกิดปัญหาและแนวทางในการแก้ผัญหาร่วมกันในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 6) ด้านทักษะได้แก่ ผู้บริหารมีทักษะการสื่อสารที่ดีในการประชุมชี้แจงการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 7) ด้านค่านิยมร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้บุคคลากรได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยยยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3265
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu27n1p156-168.pdf216.31 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น