กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3259
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของบุคลากรในกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of core competency of personnel in the Ministry of Industry and Commerce to Asean Economy Community, Lao People's Democratic Republic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิชนี ถนอมชาติ
กัญจนวลัย นนทแก้ว
คำวิไล เพ็งพิลาวงศ์
คำสำคัญ: กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า - - การบริหารงานบุคคล
การบริหารงานบุคคล
สมรรถนะ
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับการกำหนดประเภทสมรรถนะหลักของบุคลากรในกระทรวงอุตสหกรรมและการค้า สปป.ลาว เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพือเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับสมรรถนะหลักโดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งงานหน่วยงานที่สังกัด และประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่ง 3) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของสมรรถนะหลักของบุคลากรในกระทรวงอุตสหกรรมและการค้า สปป. ลาว 4) เพื่อเสนอแนะข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรในกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว กลุ่มประชากรที่ศึกษามีจำนวน 189 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และวิเคราะห์โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารในกระทรวงอุตสาหกรรและการค้า สปป.ลาว มีความคิดเห็นเกี่ยวสมรรถนะหลักทั้ง 12 ด้าน เมื่อเรียงระดัลโดยค่าเฉลี่ย พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ รองลงมาด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านความเชื่อมั่นศรัทธาต่อนโยบาย เป็นอับดับ 3 ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการทำงานข้ามวัฒนธรรมและความหลากหลาย ด้านการบริการที่ดี ด้านการสื่อสาร ด้านภาษา อังกฤษ และภาษาอาเซียน และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษาและปัจจัยการทำงานได้แก่ ตำแหน่งงานหน่วยงานที่สังกัดและประสบการณ์ในการทำงานแต่ละตำแหน่ง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักทั้ง 12 ด้านมีความคิดแตกต่างกัน ผลการจัดลำดับความสำคัญของสมรรถนะหลักทั้ง 12 ด้าน พบว่า สมรรถนะหลักด้านความเชื่อมั่นศรัธทาต่อนโยบาย มีระดับความสำคัญเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ด้านการบริการที่ดีอยู่ในลำดับที่ 3 ด้านจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์อยู่ในลำดับที่ 4 ด้านการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ในลำดับที่ 5 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในลำดับที่ 6 ด้านการทำงานข้ามวัฒนธรรมและความหลากหลาย อยู่ในลำดับที่ 7 ด้านการสื่อสารอยู่ในลำดับที่ 8 ด้านภาวะผู้นำอยู่ในลำดับที่ 9 ด้านการทำงานเป็นทีมอยู่ในลำดับที่ 10 ด้านการมุ่งผมสัมฤทธิ์อยู่ในลำดับที่ 11 ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพอยู่ในลำดับที่ 10 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะหลักด้านอื่นๆ สามารถสรุปใจควาสำคัญได้ดังนี้ 1.บุคลากรทุกคนในกระทรวงอุตสหากรรมและการค้า สปป. ลาว ต้องมีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อนโยบายมีความภักดีต่ององค์การและพร้อมที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็ลลุล่วงตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองตลอดเวลา 2.ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมในการปนะพฤติปฏิบัติ รัฐธรรมนูญ กฏหมายและระเบียบของข้าราชการไม่ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่เอาทรัพย์สินของรัฐมาเป็นของส่วนตัว ครอบครัว และพวกพ้อง 3.บุคลากรต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงานในวงราชการและมีความเสียสละทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการทำงานเพื่อผลประโยชน์ขององค์การและหน่วยงานด้วยความจริงใจ 4.บุคลกรทุกคนควรมีแนวคิดสร้างสรรค์ คิดค้นหาวิธีการนำเอานโยบายไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กรเพื่อให้แนวทางนโยบายที่กำหนดออกได้เข้าสู่การปฏิบัติที่แท้จริง 5.ควรเห็นพร้องและสนับสนุนแนวทางนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับอนุภาคพื้นและสากล และนโยบายอันเป็นอุตสหากรรมและทันสมัยให้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงในอนาคต 6.ควรมีการจัดฝึกอบรมเผยแพร่ เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมให้บุคลากรภายในกระทรวงเป็นระยะ เพื่อให้บุคลากรได้ซึมซับ และความให้ความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าว 7.ไม่ควรนำเอาความลับขององค์กรไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาติจากผู้บริหารและหน่วยงานที่เกียวข้องอันจะทำให้ภาพลักษณ์ ตลอดจนชื่อเสียงขององค์การเสื่อมเสีย และมีผลกระทบในวงกว้าง 8.ควรนำเอาหลักการบริหารจัดการ หรือเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพแก่วงราชการ มีการกำหนดกฏเกณฑ์ กติกา ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงและมีผลต่อการพัฒนาทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมของบุคลากรไปในทางที่ดีขึ้น 9.ควรให้มีการกำหนดตัวชี้วัด หรือพฤติกรรมอันพึงมีของบุคลากรทุกคนและทำให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในองค์กร 10.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารบุคลากรกระทรวงควรให้ความสนใจและเสาะแสวงหาแนวทางในการพัฒนาจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์โดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อทำให้องค์การโปร่งใสปลอดจากปัญหาการคอร์รัปชันในอนาคต 11.บุคลากรบางหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ยังไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหาการบริการการที่ดีทำให้ผู้มารับบริการขาดความเชื่อมั่นคุณภาพของการให้บริการ ยังไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นระบบการบริการชักช้า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องหาแนวทาง ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามแนวทางนโยบายที่กำหนด 12.การบริการที่ดีควรเริ่มที่ตัวของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานถ้าบุคลากรทุกคนรู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองจะทำให้การบริการเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ดังนั้นจึงควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรรับรู้ 13.เพื่อนปรับปรุงงานด้านการบริการให้ดีขั้นควรจัดส่งพนักงานของหน่วยงานไปทัศนะศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลลากรได้เรียนรู้และนำมาพัฒนาด้านการบริการให้มีคุณภาพดีขึ้น 14.บุคลากรทุกคนต้องบุคลิกภาพและมีมนุษย์สัมพัมธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมีการพูดจาไพเราะไม่แข็งกระด้างจนเกินไป ยอมรับและให้เกียรติเพื่อนร่วมงานในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆต่อการทำงานเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น 15.ควรมีการสื่อส่ารให้บุคลากรทุกคนในองค์กรหารได้รับทราบถึงข้อดีข้อเสีย โอกาสและข้อจำกัดที่มีผลต่อการทำงานภายในองค์กรการเมื่อเข้าสู่ยุคของการเปิดสร้างเสรีทางด้านกานค้าและการลงทุน เพื่อในพนักงานได้ตระหนักรู้และเตรียมพร้อมรองรับการทำงานในรูปแบบใหม่ในลักษณะหลากหลายมิติและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ: สรรถนะ/บุคลากร/กระทรงอุตสหากรรมและการค้า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3259
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc11n1p32-46.pdf195.62 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น