กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3240
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The multi-level causal factors affecting effectiveness of sub-district administrative organizations (SAOs) in the Eastern Region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ทวีชัย สายทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารองค์การ
ความผูกพันต่อองค์การ
ประสิทธิผลองค์การ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
สาขาสังคมวิทยา
องค์การบริหารส่วนตำบล
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ความผูกพันธ์ต่อองค์การ สมรรถนะ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ บรรยากาศองค์การ หลักธรรมาภิบาล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลและปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 1,166 คน และหัวหน้าส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 523 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยเป็น 1) ตัวแปรตาม คือประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล วัดจาก การปฏิบัติงานการปรับตัว และการยืดหยุ่น 2) ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สมรรถนะ และความผูกพันต่อองค์การ 3) ตัวแปรทำนายระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปรได้แก่ การนำนโยบายไปปฏิบัติ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลักธรรมาภิบาล และบรรยากาศองค์การ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป้นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ตั้งแต่ 0.500 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่น ตั้งแต่ 0.944 ถึง 0.987 สถิติที่ใช้คือ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ ตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ความผูกพันต่อองค์การ สมรรถนะ บรรยากาศองค์การ หลักธรรมาภิบาล และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทุกด้านอยู่ในระดับน้อย ยกเว้นรายได้อยู่ในระดับปานกลาง การนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลเกือบทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง 2. โมเดลการวัดพหุระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลที่วัดจาก ตัวแปรสังเกต 3 ตัว ได้แก่ การปฏิบัติงาน การปรับตัว และการยืดหยุ่น โมเดลทีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี 3. ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี ระดับบุคคล พบว่า ประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจาก สมรรถนะ และความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ร้อยละ 72.7 ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ได้รับอิทธิพลจาก การนำนโยบายไปปฏิบัติ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง หลักธรรมาภิบาล และบรรยากาศองค์การ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3240
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edu26n3p190-204.pdf299.83 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น