กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/322
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอาภรณ์ ดีนานth
dc.contributor.authorสงวน ธานีth
dc.contributor.authorสมจิตร พึ่งวงศ์สำราญth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/322
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายโรคอ้วนของวัยรุ่นไทยในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคตะวันออก จำนวน 1991 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายและการใช้เวลาว่าง แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดส่วนสูง เครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นักเรียนทุกคนตอบแบบสอบถามและสุ่มนักเรียนจำนวน 476 คนเพื่อเจาะตรวจระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและหาปัจจัยทำนายโดย Stepwise regression correlation ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.3 อายุเฉลี่ย 14.90 ปีมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 43 บาท รายได้ของครอบครัวอยู่ระหว่าง 10000-20000 บาท/เดือน ร้อยละ 12.1 มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 th ร้อยละ 50.1 มีสมาชิกในครอบครัวที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ร้อยละ 15.5 มีบิดาน้ำหนักเกินมาตรฐาน ร้อยละ 19.1 มีมารดาน้ำหนักเกินมาตรฐาน ร้อยละ 2.9 มีบิดาอ้วนและร้อยละ 4.7 มีมารดาอ้วน พฤติกรรมการออกกำลังกายและการใช้เวลาว่างของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีค่าเฉลี่ยการออกกำลังกาย 120.41 นาที/สัปดาห์ (M=120.4, SD=90.69) ใช้เวลาในการดูโทรทัศน์หลังเลิกเรียนเแลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง 55 นาที (M=115.32, SD=94.03) และใช้เวลาในการดูโทรทัศน์ในวันหยุด เฉลี่ยวันละ 5 ชั่วโมง (M=285.22, SD=141.39) ผลการตรวจหาระดับไขมันในเลือด พบว่า ร้อยละ 17.6 มีระดับโคเลสเตอรอลสุงกว่า 200 มก/มล ร้อยละ 21 มีไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 100 มก/มล ร้อยละ มีระดับแอลดีสูงกว่า 130 มก/ดล และร้อยละ 98 มีระดับแอลดีแอลสูงกว่า 45 มก/ดล การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าดัชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ จำนวนสมาชิกครอบครัวที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วน ค่าดัชนีมวลกายของบิดาและมารดา ค่าใช้จ่ายรายวัน จำนวนวันธรรมกาที่ดูโทรทัศน์และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า จำนวนสมาชิกครอบครัวที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วน ค่าดัชนีมวลกายของบิดาและมารดา ค่าใช้จ่ายรายวัน พฤติกรรมการรับประทานอาหารและเวลาที่ใช้ในการดูโทรทัศน์ สามารถร่วมกันอธิบายค่าดัชนีมวลกายของวัยรุ่นได้ ร้อยละ 14.3 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ควรติดตามอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของโรคในระยะยาว ป้องกันและลดภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วนโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของครอบครัว โดยควรเน้นการสร้างพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ควรลดเวลาว่างในการดูโทรทัศน์และเพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วนของวัยรุ่นth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2548en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectวัยรุ่น - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectโรคอ้วน - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectโรคอ้วน - - การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์โรคอ้วนของวัยรุ่นไทยในภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe prevalence of obesity of Thai adolescents in the eastern region of Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study aimed to explore factors related to overweight and obesity and to examine determinants of overweight and obesity among Thai adolescents. High school students (n=1991) from 8 provinces in the eastern region of Thailand were recruited to complete demographic, exercise and lazier activity, and eating behavior questionnaires. Futher, 476 sub-sample were measured height and weight for Body Mass Index (BMI) and collected blood samples for sugar and lipid profile. Data wete analyzed using descriptive statistics, Person's product moment correlation coefficients, and Stepwise multiple regression. The results revealed that the majority were female (59.3%), averaged age 14.90 years, had obese family member (50.1%), family incomes ranged 10000-20000 (45.8%). Stusents spent 1 hour 55 minutes per day on TV after schooling (M=115.32, SD=94.03) and spent 4 hours 45 minutes (M=285.22, SD=141.39) on weekend TV. Students reported that their exercise averaged 120 min/week. Approximate 18 percent had total cholesterol greater than 200mg/dl,4.4% had LDL greater than 130 mg/dl, and 21% had triglyceride greater than 100 mg/dl. However, 98% had HDL greater than 45 mg/dl. Pearson's product moment correlation indicated that Adolescent BMI related to number of obese family members, mother BMI, father BMI, daily expense, number of days watching TV, and triglyceride. Determinants of overweight and obesity among Thai adolescents included number of obese family members, mother BMI, father BMI, daily expenses, healthy eating behavior, and hours of watching TV. The total variances explain 14.3%. In sum, the results showed that family play major role in overweight and obesity among Thai adolescents. To prevent and reduce the prevalence of obesity among Thai adolescents, obese prevention programs should include family participation, increase active activities, and appropriate eating behaviors. A longitudinal study is also recommended for further studyen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_034.pdf4.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น