กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/321
ชื่อเรื่อง: การศึกษาภาวะการมีงานทำ และความคิดเห็นของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาต่อการจัดการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of the graduates' employment and opinions on the education management of the faculty of humanities and social sciences Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ญศรี กังวาลโชคชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การทำงาน
กำลังคนระดับอุดมศึกษา - - ไทย - - วิจัย
นักศึกษา - - การจ้างงาน
บัณฑิต - - การจ้างงาน - - วิจัย
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำ และความคิดเห็นของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา ต่อการจัดการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพากลุ่มตัวอย่างเป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของบัณฑิต ภาวะการมีงานทำ และความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษา จำนวน 64 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีงานทำ ร้อยละ 74.75 การว่างงาน ร้อยละ 15.15 และการศึกษาต่อ ร้อยละ 10.40 โดยใช้เวลาในการหางานทำ1-3 เดือน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 8,000-12,000 บาท/เดือน และปฏิบัติงานตรงกับสาขาวิชาเอก ปัจจัยที่นายจ้างรับบัณฑิต เข้าทำงาน 3 อันดับแรก ได้แก่ มีความเชื่อมั่นทางบุคลิกภาพ กริยา วาจา รองลงมา สาขาวิชาที่จบตรงกับความต้องการของนายจ้าง และมีความสามารถพิเศษ เช่น ภาษาต่างประเทศ และด้านคอมพิวเตอร์ 2. บัณฑิตมีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านหลักสูตรวิชาเอก อยู่ในระดับมากด้านหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ด้านกิจกรรมนิสิตและอื่น ๆ ด้านเครื่องใช้และอุปกรณ์ (โสตทัศนูปกรณ์) สำหรับการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง และด้านความรู้และทักษะทางภาษา พบว่า ภาษาไทย อยู่ในระดับมาก ภาษาอังกฤษ อยู่ในระกับปานกลาง และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาฝรั่งเศส อยู่ในระดับน้อย 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาต่อการจัดการศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกันตามภาวะการมีงานทำของบัณฑิต 4. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาต่อการจัดการศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันตามสาขาวิชาเอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/321
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น