กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3202
ชื่อเรื่อง: ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก เพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Needs of human resource development for ASEAN Economic Community of university employees in the Eastern of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนัญญา มาพุทธ
สมหมาย แจ่มกระจ่าง
พรรัตน์ แสดงหาญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - - ไทย (ภาคตะวันออก) การพัฒนาบุคลากร
ทรัพยากรมนุษย์
พนักงานมหาวิทยาลัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนก ตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สายการปฏิบัติงาน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 335 คน จำแนกเป็น สายคณาจารย์ จำนวน 147 คน และสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 188 คน เก็บข้อมูลจริงได้จำนวน 331 คน คิดเป็นร้อยละ 98.80 เลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสัดส่วนจำนวนประชากรครอบคลุมทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ พนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนา ด้านการฝึกอบรม และ ด้านการศึกษาต่อ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สายการปฏิบัติงาน และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc10n1p116-128.pdf792.23 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น