กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/317
ชื่อเรื่อง: การผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียที่แยกได้จากฟองน้ำของประเทศไทยในถังหมัก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริโฉม ทุ่งเก้า
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: แบคทีเรีย
แบคทีเรีย - - จุลชีววิทยา
แบคทีเรีย - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียที่แยกได้จากฟองน้ำทะเล 3 สายพันธุ์ ได้แก่ แบคทีเรียรหัส CDF04, SMF04 และ CDF07 ในถังหมักขนาด 5 ลิตรและศึกาผลของปัจจัย ได้แก่ พีเอช อุณหภูมิ การกวน การให้อากาศและระยะเวลาการเพาะเลี้ยงต่อการเจริญและการผลิตสารต้านจุลชีพของแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารต้านจุลชีพของ CDF04 ใน Marine broth คืออุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส พีเอส 7.0 มีการกวนที่อัตรา150รอบต่อนาทีและให้อากาศที่ 1.0 ลิตรต่อนาที ทำการเพาะเลี้ยงเป้นเวลา 48 ชั่วดมง สำหรับ SMF04 และ CDF07 นั้นเมื่อเพาะเลี้ยงด้วย ORI medium ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสพบว่า SMF04 ผลิตสารต้านจุลชีพได้ดีเมื่อควบคุมพีเอชที่ 7.5 มีการกวนที่ 150 รอบต่อนาทีและใช้อากาศที่ 1.0 ลิตรต่อนาที ในขณะที่สภาวะที่เหมาะสมสำหรับ CDF07 คือที่พีเอช 7.0 อัตราการกวน 100 รอบต่อนาที และให้อากาศที่ 1.0 ลิตรต่อนาที เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 48 ชั่วดมงเช่นเดียวกัน โดยพบว่าสารที่ได้จากการสกัดส่วนน้ำหมักด้วยเอธิลแอซีเตทของแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้แก่ Bacillus cereus, Escherichia coli ATCC25922, Micrococcus luteus, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus ATCC25923 และ Vibrio alginolyticus ได้ เมื่อทดสอบด้วยสารปริมาณ 0.46-10.0 มิลลิกรัม ผลการจำแนกแบคทีเรียที่แยกได้จากฟองน้ำพบว่า SMF04 อยู่ในสกุล Corynebacterium และ CDF07 อยู่ในสกุล Photobacterium
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/317
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น