กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/308
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากเรื้อรังด้วยตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ด้วงแพง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
การหายใจลำบาก
ทางเดินหายใจ - - โรค
ปอด - - โรค
ระบบหายใจ - - โรค
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการด้วยตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 25 ราย กระบวนการวิจัยอาศัยความร่วมมมือระหว่างผู้วิจัยอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้วิจัย ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและครอบครัว และบุคลากรสุขภาพ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนธันวาคม 2549 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการตอบแบบประเมิณการรับรู้ความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากเรื้อรังด้วยตนเอง และแบบประเมินสภาวะอาการหายใจลำบาก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย และ Wilcoxan Rigned Rank Test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากด้วยตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) การสร้างสัมพันธภาพและการคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างบุคลากรสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง และครอบครัว 2) การสร้างความตระหนักถึงในความรับผิดชอบต่อตนเอง 3) การปฏิบัติตามแนวคิดการจัดการตนเอง 4) การประเมินความต้องการการเรียนรู้และให้ความรู้หรือฝึกทักษะอย่างต่อเนี่อง 5) การเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์เดียวกัน 6) การจัดสิ่งแวดล้อมและระบบบริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อการจัดการด้วยตนเอง 7) การสนับสนุนจากบุคลากรสุขภาพและครอบครัว 8) การดูแลอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมองค์รวม 9) การให้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางการดูแล และ 10)ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากเรื้อรังด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำยบากเรื้อรั้งด้วยตนเองสูงกว่าการเข้าร่วมการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (Z = 4.34, p < 0.01) และมีคะแนนเฉลี่ยสภาวะหายใจลำบากหลังเข้าร่วมการวิจัยต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( Z = 4.48, p < 0.01) รูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากเรื้อรังด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถให้แนวทางในการส่งเริมความสามารถในการจัดการด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและการวิจัยต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/308
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_045.pdf5.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น