กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3079
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.authorศรีวรรณ ยอดนิล
dc.contributor.authorพิมพ์วดี จันทรโกศล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:21:15Z
dc.date.available2019-03-25T09:21:15Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3079
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและความต้องการในการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทย และสังเคราะห์กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก เป็นวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามกลุ่มครูสอนนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสัมภาษณ์เชิงลึกครูสอนนาฏศิลป์ำทย จำนวน 15 คน สนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทยและผู้แทนกลุ่มครูสอนนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยของครูสอนนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านคติความเชื่อ ด้านค่านิยม ด้านจุดมุ่งหมาย ด้านองค์ความรู้ ด้านวิธีการ/ ขั้นตอน ด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่า โดยรวมให้ความสำคัยในการปฏบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านวิธีการ/ ขั้นตอน ด้านองค์ความรู้ ด้านค่านิยม ด้านจุดมุ่งหมายและดานคติความเชื่อ ตามลำดับ 2. ความต้องการในการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยของครูนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านค่านิยม ด้านจุดมุ่งหมาย ด้านองค์ความรู้ ด้านวิธีการ/ ขั้นตอน ด้านการวัดผลและประเมินผล พบว่า โดยรวมมีความต้องการให้ความสำคัญในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านองค์ประกอบความรู้ ด้านค่านิยม ด้านคติความเชื่อ ด้านวิธีการ/ ขั้นตอนและด้านจุดมุ่งหมายตามลำดับ 3. กระบวนการถ่ายทอดนาฎศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออก มี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนกลุ่มเฉพาะให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่สนใจคือ มีพื้นฐานความรู้และต้องการมีทักษะ ประสบการณ์ด้านนาฏศิลป์ไทยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางสังคม โดยมีขั้นตอนหลักในการถ่ายทอด 3 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมการด้านครู ด้านผู้เรียน และปรับสภาพแวดล้อมให้พร้อมต่อการปฏิบัติ 2) ขั้นถ่ายทอด ได้แก่ สรา้งความศรัทธา ปลูกฝังค่านิยมและสั่งสมประสบการณ์ที่ประกอบด้วย ขั้นการเลียนแบบ ขั้นการฝึกทักษะ ขั้นการสร้างสรรค์ 3) ขั้นการวัดผลและประเมินผลในด้านความรู้ทางทฤษฎี ทักษะปฏิบัติ คุณภาพผลงานของผู้เรียนและการประเมินการถ่ายทอดของครู รูปแบบที่ 2 กระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยสำหรับผู้เรียนกลุ่มทั่วไป มุ่งเน้นการสร้างความสนใจเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะด้านนาฏศิลป์ไทย โดยมีขั้นตอนหลักในการถ่ายทอด 3 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมการด้านครู ด้านผู้เรียน และปรับสภาพแวดล้อมให้พร้อมต่อการปฏิบัติ 2) ขั้นถ่ายทอด ได้แก่ สรา้งความสนใจ สรา้งความศรัทธา ปลูกฝังค่านิยมและสั่งสมประสบการณ์ที่ประกอบด้วย ขั้นการรับรู้ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นสรา้งความเข้าใจ ขั้นการเลียนแบบ ขั้นการฝึกฝนทักษะ ขั้นการสรา้งสรรค์ 3) ขั้นการวัดผลและประเมินผลในด้านความรู้ภาคทฤษฎี ทักษะปฏิบัติ คุณภาพผลงานของผู้เรียนและการประเมินการถ่ายทอดของครู ทั้ง 2 รูปแบบจะ มีการขัดเกลาปลูกฝังความดีสอดแทรกในทุกขั้นตอนการถ่ายทอดตามความเหมาะสมและโอกาสที่จะเอื้ออำนวยth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectนาฏศิลป์ไทย - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) โรงเรียนมัธยมศึกษาth_TH
dc.subjectนาฏศิลป์ไทยth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleกระบวนการถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe transmission process of Thai classical dance in secondary school in the East of Thailanden
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume10
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were to study the situation and needs for Thai classical dance transmission and synthesize the transmission process of Thai classical dance for secondary school in the Eastern Region. This study is based on mixed methods research. Data were collected by questionnaires with 113 Thai classical dance teachers of secondary school in the Eastern Region and 15 representatives of Thai classical dance teachers of secondary school in the Eastern Region who were in-dept interviewed and a focus group on 10 Thai classical dance experts and representative of Thai classical dance teachers. The data were analyzed by descriptive statistic and contents analysis. The research findings were as follows: 1. There were 6 components in Thai classical dance transmission: the beliefs, the values, the aims, the knowledge, the methods/ instructions, the measurement and evaluation. They were the measurement and evaluation, the methods/ instructions, the knowledge, the values, the aims, and the beliefs which were arranged by the most important to the least respectively. 2. The needs on transmission consisted of 6 components: the beliefs, the values, the aims, the knowledge, the methods/ instructions, the measurement and evaluation. They were the measurement and evaluation, the knowledge, the values, the beliefs, the instructions/ methods, and the aims which were arranged by the most important to the least respectively. 3. The process of Thai classical dance transmission for the secondary school in the Eastern Region was found 2 types: Type 1: The transmission approach process which was specifically on the student who were interested in Thai classical dance, also with the basic knowledge and the experiences in Thai classical dance that they could apply in social activities. There were 3 stages in transmission as; 1) the preparation stage focused on teachers, students and learning environment; 2) the transmission stage: focused on the faith creating, the value and experience instilling consisted of imitating step, skill practice step and creating step; 3) the measurement and evaluation stage which evaluated knowledge, theory and skilled practice, the student outcomes and teacher transmission. Type 2: The transmission stage for general student that emphasis on the student inspiration for their knowledge and skill in Thai classical dance. There were 3 stage transmission as; 1) the preparation stage focused on teachers, students and learning environment; 2) the transmission stage: focused on the interesting, the faith creating, the value and experience instilling consisted of perceiving step, preparing step, understanding step, imitating step, skill practice step and creating step; 3) the measurement and evaluation stage which evaluated knowledge, theory and skilled practice, the student outcomes and teacher transmission.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page50-61.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusocial10n2p50_61.pdf161.97 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น