กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/290
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of sperm cryopreservation technology for oyster (saccostrea cucullata) aquaculture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา
น้ำเชื้อแช่แข็ง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หอยนางรม - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา
หอยนางรมปากจีบ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เป็นหอยทะเลเศษฐกิจที่นิยมเลี้ยงบริเวณชายฝั่งทะเลและมีความสำคัญทางการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศ อย่างไรก็ตามการศึกษาการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบยังไม่เคยมีการศึกษาเพื่อประโยชน์ทางการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้โครงการวิจัยเรื่องนี้ได้พัฒนาขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบ เริ่มจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสเปิร์มหอยนางรมปากจีบที่รวบรวมในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ การแช่เย็นน้ำเชื้อหอยนางรมที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบแล้วเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลว ผลการทดลองพบว่าพ่อพันธุ์หอยนางรมปากจีบที่รวบรวมมาตลอดช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ มีเปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์ม และเปอร์เซนต์การมีชีวิตของสเปิร์มที่มีค่าสูงและไม่แตกต่างกันทางสถิติ การนำเอาน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบมาแช่เย็นในสารละลายบัฟเฟอร์ต่างๆ กัน 5 ชนิด ได้แก่ Artificial sea water (ASW), Calcium – fee Hank's balanced (Ca-F-HBSS), Ringer solution, 0.85% NaCl และ Calcium-free saline (Ca-F Saline) พบว่า น้ำยาสูตรCa-F Saline สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานที่สุดและการใช้อัตราส่วนเจือจางน้ำเชื้อต่อสารละลายบัฟเฟอร์เป็น 1 ต่อ 2 ให้ประสิทธิภาพการเก็บรักษาที่ดีกว่าการใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 หรืออัตราส่วน 1 ต่อ 3 การพัฒนาเทคโนโลยีการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบเริ่มจากการศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ 10 ชนิด (Dimethyl sulfoxide; DMSO, Methanol, Sucrose, Trehalose, Ethanol, Formamide, Propylene glycol, Acetamide และ Glycerol) ที่มีการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม เพื่อทราบข้อมูลความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ 10 ชนิด (Dimethyl sulfoxide; DMSO, Methanol, Sucrose, Trehalose, Ethanol, Formamide, Propylene glycol, Ethylene glycol, Acetamide และGlycerol) ที่มีต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม เพื่อทราบข้อมูลความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม จึงนำน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบมาเจือจางในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ 3 ชนิด (DMSO, Propylene glycol และ Ethylene glycol) ที่ความเข้มข้นต่างๆกัน แล้วแช่แข็งด้วยอัตราการลดอุณหภูมิต่างๆกัน (2.5, 5, 7.5, 10 และ 12.5 องศาเซลเซียส/นาที) โดยลดอุณหภูมิไปจนถึงอุณหภูมิสุดท้าย (final temperature) ที่ -30 องศาเซลเซียส หรือ -80 องศาเซลเซียส แล้วนำน้ำเชื้อแช่แข็งไปเก็บรักษาในถังไนโตรเจนเหลว (อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส)แล้วทำการละลายน้ำเชื้อ (thawing) เพื่อประเมินคุณภาพสเปิร์ม ปรากฎว่า การลดอุณหภูมิขณะแช่แข็งมาถึงอุณหภูมิสุดท้าย -30 หรือ -80 องศาเซลเซียส ให้ผลการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) การพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยนางรมปากจีบสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการผสมเทียมและการผลิตลูกหอยในโรงเพาะฟัก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/290
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น