กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2848
ชื่อเรื่อง: โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
วรเดช ช้างแก้ว
ไพรัตน์ วงษ์นาม
สมศักดิ์ ลิลา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การทำงาน
การวิเคราะห์พหุระดับ
สมรรถภาพในการทำงาน
แบบจำลองสมการโครงสร้าง
อาสาสมัครสาธารณสุข
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดประสิทธิผลการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ศึกษาปัจจัยสาเหตุประสิทธิผลการทำงานของ อสม. และพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลการทำงานของ อสม. ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น อสม. จำนวน 2400 คน และบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 1) ตัวแปรคือประสิทธิผลการทำงานของ อสม. ประกอบด้วยตัวแปรสังเกต 3 ตัวแปร ได้แก่ การทำงานตามมาตรฐานการสาธารณสุขมูลฐาน ตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. และตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเชิงรุก 2) ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันในงาน สุขภาวะทางจิต และจิตอาสา 3) ตัวแปรทำนายระดับหน่วยงาน ประกอบด้วยตัวแปรแผง 3 ตัวแปร ภาสะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารหน่วยงาน บรรยากาศการทำงาน และการสนับสนุนจากหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการทำงานของ อสม. และแบบสอบถามการทำงานของหน่วยงาน สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับเดียว และองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ การการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม Mplus 5.21 ผลการวิจัย 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดประสิทธิผลการทำงานของ อสม. ได้แก่ การทำงานตามมาตรฐานการสาธารณสุขมูลฐาน ตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. และตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเชิงรุก มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า X2 = 0.254, df=2, p=.881, CFI=1.000, TLI=1.000, RMSEA=.000, SRMRw = .000, SRMRb = .012 และ X2/df = 0.127 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน อสม. ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พร้อมกันทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงานพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า X2= 1021.667, df=267, p<.001, CFI = .975, TLI = .967, RMSEA = .034, SRMRw = .021, SRMRb = .039 และ X2/df = 3.826 แบ่งตามระดับการทำนายดังนี้ 2.1 ระดับบุคคลพบว่า ประสิทธิผลการทำงานของ อสม. ได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากแรงจูงใจในการทำงาน ส่วนจิตอาสา ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจากสุขภาวะทางจิต และความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการทำงานของ อสม. ได้ร้อยละ 89.7 2.2 ระดับหน่วยงานพบว่า ประสิทธิผลการทำงานของ อสม. ไม่ได้รับอิทธิพลจากภาวะผู้นำกลยุทธ์ของผู้บริหารหน่วยงาน บรรยากาศการทำงานและสนับสนุนจากหน่วยงาน ข้อเสนอแนะผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานของ อสม. โดยต้องคำนึงถึงการสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่จะเกิดกับ อสม.และทำงานด้วยจิตอาสาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถนำรูปแบบนี้ไปทดลองใช้ในการติดตามประเมินผลการทำงานของ อสม. This research aimed to test the model of work effectiveness measurement for village health volunteers (VHVs) and develop the multi-level structure equation model (MSEM) of performance effectiveness among village health volunteers (VHVs). The simples were 2400 VHVs and 300 health workers of sub district health promotion hospitals (HPHs). Two stage sampling was used to select the subject. The variables in this research were 1) the dependent variable was the VHVs work performance which composed of 3 observable variables such as Primary Health Care, Competency of VHVs and Public Health Policy; 2) the predictors in individual level which composed of 4 latent variables such as working motivation, work commitment, mental health status, and helping mind; 3) the predictors in organization level which composed of 3 latent variables such as leadership administrative strategies, climate of working, and supports from organization. The questionnaires were used in data collecting. The researchers analyzed the data using single-level CFA, multi-level CFA and multi-level SEM. The researchers utilized the statistical software Mplus 5021 to test for model validity. The research results were; 1. The proposed model with 3 dependent observable variables which were primary health care, competency of VHVs and public health policy fits with the empirical data. This can be confirmed statistically with X2 = 0.254, df=2, p=.881, CFI=1.000, TLI=1.000, RMSEA=.000, SRMRw = .000, SRMRb = .012 และ X2/df = 0.127 2. The proposed multi-level model fits with the empirical data, the findings found from the analysis personal and organization level congruence with the explicit data. This can be confirmed statistically with X2= 1021.667, df=267, p<.001, CFI = .975, TLI = .967, RMSEA = .034, SRMRw = .021, SRMRb = .039 และ X2/df = 3.826 the model can be explained as followed: 2.1 For individual level, the VHVs performance effectiveness were directly positive influenced by working motivation and helping mind. On the other hard, the VHVs work performances were directly negative influenced by mental health status and work commitment as significance level .01. Both positive and negative influenced could significantly predict the effectiveness accounted for 89.7%. 2.2 For organization level, the VHVs performances effectiveness was not influenced by leadership, administrative strategies, climate of working, and support from organization. The knowledge gained from the study can be applied in improving the VHVs performances effectiveness by facilitating the VHVs to be motivated and work with helping mind. The sub-district HPHs could utilize the multi-level structural equation model (MSEM) of performances effectiveness of VHVs in work assessment.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2848
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
73-89.pdf1.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น