กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2835
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.authorวัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.authorปรียาพร สมัครการ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:56Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:56Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2835
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการและการได้รับกาตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามแนวคิดความต้องการของกาลิโอเน (Gaglione, 1984) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดเท่ากับ .84 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 61.15, SD = 4.74)ส่วนรายด้านพบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก (= 37.95, SD = 2.98) ด้านอารมณ์อยู่ในระดับมาก (= 15.92, SD = 1.64) และด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (= 7.28, SD = 1.02) 2. คะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 56.68, SD = 4.70) ส่วนรายด้าน พบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก (= 36.44, SD = 3.34) ด้านอารมณ์อยู่ในระดับมาก (= 15.13, SD = 1.70) และด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (= 7.11, SD = 0.91) 3. เปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่พบว่า ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.91, P = .005) ส่วนรายด้านพบว่า ความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.83, P = .006) ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.44, P = .017) และความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านจิตวิญญาณไม่แตกต่างกัน (t = 1.21, P = .230) ผลการวิจัยนี้ พยาบาลสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการเยี่ยมก่อนผ่าตัดด้วยการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ ด้านข้อมูลข่าวสารและอารมณ์เพิ่มขึ้นth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectพยาบาลกับผู้ป่วยth_TH
dc.subjectพยาบาลห้องผ่าตัดth_TH
dc.subjectศัลยกรรมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่th_TH
dc.title.alternativeNeed and need responses from operating nurse's pre-visit among the patients undergo major surgeryen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue4
dc.volume22
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive comparative research was to study needs and need responses from operating nurse’s pre-visit among the patients undergo major surgery. The sample consisted of 63 of patients undergoing major surgery at operating room, a private hospital in Bangkok, The instruments were demographic data, needs and need responses questionnaires which were developed based on Gaglione’s concept (1984). The Cronbach’s alpha coefficient were .84 and .80, respectively. Data were analyzed using descriptive statistic and paired t-test The results were as follows: 1. The overall needs from operating nurse’s pre-visit score was at the high level (= 61.15, SD = 4.74). For each aspect, informational need score was at the high level (= 37.95, SD = 2.98), emotional need score was at the high level (= 15.92, SD = 1.64) and spiritual need score was at the high level (= 7.28, SD = 1.02) 2. The overall need responses from operating nurse’s pre-visit score was at the high level (= 56.68, SD = 4.70). For each aspect, the informational response need score was at the high level (= 36.44, SD = 3.34), emotional need score was at the high level (= 15.13, SD = 1.70) and spiritual need responses score was at the high level (= 7.11, SD = 0.91) 3. Paired t-test showed a statistically significant difference between overall needs and need responses from operating nurse’s pre-visit score for patients’ undergo major surgery (t = 2.91, P = .005). Considering each aspect, there were statistic significant difference for informational aspect (t = 2.83, P = .006), emotional aspect (t = 2.44, P = .017), but spiritual aspect was not different (t = 1.21, P = .230). The finding suggest that nurse can use the result to improve quality of pre-visit by increasing need responses in information and emotional aspects among patients undergo major surgery.en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page25-34.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus22n4p25-34.pdf1.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น