กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2833
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors predicting loneliness among elderly with chronic illness living in community
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุลีกร ปัญญา
วารี กังใจ
สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ - - จิตวิทยา
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยด้านอายุ สัมพันธภาพในครอบครัว ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม ต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ และโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 110 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง การสนับสนุนทางสังคมและความว้าเหว่ มีค่าความเที่ยงตามวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .70, .92, .83, .96 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่อยู่ในระดับปานกลาง (= 54.04, SD = 5.39) อายุ สัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถร่วมทำนายความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน ได้ร้อยละ 46.2 (R2 = .462, p <.01) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังสูงสุด คือ สัมพันธภาพในครอบครัว (Beta = -.300, p <.01) รองลงมาได้แก่ อายุ (Beta = -.265, p <.01) และ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Beta = -.185, p <.05) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชน ควรหาแนวทางในการป้องกันความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน โดยการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2833
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus22n4p1-12.pdf1.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น