กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2821
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกาญจนา พิบูลย์
dc.contributor.authorวัลลภ ใจดี
dc.contributor.authorเกษม ใช้คล่องกิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:55Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:55Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2821
dc.description.abstractการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2556 ทั้งที่เป็นงานวิจัยแบบทดลองและแบบกึ่งทดลองจำนวน 38 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้วยข้อมูลสถิติพรรณนา วิเคราะห์ประสิทธิผลของผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลด้วยสถิติweighted mean difference และการสรุปเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า มีรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้สูงอายุได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการดูแลที่เป็นโปรแกรมที่เน้นการส่งเสริมการดูแลตนเอง การกำกับตนเอง การส่งเสริมสมรรถนะ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการจัดการตนเองโดยเป็นกิจกรรมที่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนทั้งหมด 28 เรื่อง และโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลเฉพาะเรื่อง จำนวน 10 เรื่อง ซึ่งโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลเฉพาะเรื่องที่พบในการศึกษาครั้งนี้จุดเน้นเรื่องการให้ความรู้ การให้คำปรึกษา และการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหว สำหรับประสิทธิผลของผลลัพธ์ของทั้งสองรูปแบบส่วนใหญ่สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดทั้งระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงและระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำงดอาหาร 8 ชั่วโมงได้ โดยประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นรูปแบบการส่งเสริมการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่องมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นแนวทางที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุได้อย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างไรก็ตามพบว่างานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้สูงอายุนั้นมีความหลากหลายของวิธีการดำเนินการที่ใช้ในการศึกษาจึงมีงานวิจัยไม่มากพอที่จะสรุปถึงรูปแบบที่มีประสิทธิผลได้ ดังนั้น ควรนำรูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาทำการวิจัยซ้ำเพื่อเป็นการประเมินประสิทธิผลของการศึกษาเพื่อให้ได้รูปแบบการดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.language.isoth
dc.subjectการทบทวนอย่างเป็นระบบ (วิจัยทางการแพทย์) เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - การดูแลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectเบาหวานในผู้สูงอายุth_TH
dc.titleการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับรูปแบบการดูแลโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุth_TH
dc.title.alternativeA systematic review of type 2 diabetic care intervention among elderly peopleen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume23
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeThis systematic review aimed to summarize the available evidence of type 2 diabetic care intervention and especially the effectiveness of type 2 diabetic care intervention among elderly people in Thailand by searching from the data based between the years 2003 to 2013. Thirty-eight research studies were appraised and recruited, including experimental and quasi-experimental studies. Data were statistically analyzed by using descriptive statistics for the characteristics of interventions. The effectiveness of the intervention was analyzed by using weighted mean differences and narrative summary. Results revealed two major types of type 2 diabetes mellitus care interventions of the elderly which consisted of twenty eight studies of continuous interventions that focused on promoting self-care, self-regulation, self-efficacy, behavior change and self-management, and ten specific studies interventions that focused on education support, counseling, and physical movement. The effectiveness of both intervention types reduced blood sugar level, including fasting blood sugar after 8 hours of nothing per oral and hemoglobin A1C (HbA1C). The effectiveness of physical activity or physical movement intervention significantly reduced the HbA1C. This systematic review presents the available evidence of type 2 diabetic care interventions that health care providers may use to change behavior among elderly people. However, the recent studies found that most studies used diverse interventions. So, there are not enough research studies that evaluated the effectiveness of the intervention. Replication research studies regarding type 2 diabetic care interventions are needed to ascertain the effectiveness intervention of type 2 diabetes mellitusen
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page1-19.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
1-19.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น