กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2818
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influencing factors of quality of life of Muslim preterm infants in the three southernmost provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนิสา หะยีเซะ
นุชสรา ทรัพย์อินทร์
ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์
นุจรี ไชยมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
ทารกคลอดก่อนกำหนด - - การดูแล
ทารกคลอดก่อนกำหนด
ผู้ดูแล
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลและทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 1-12 เดือน ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ปัตตานีและศูนย์ยะลา จำนวน 118 คู่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดยผู้วิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแล แบบประเมินน้ำหนักส่วนสูง พัฒนาการ ประวัติการเจ็บป่วยหลังออกจากโรงพยาบาลของทารก และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิม โดยแต่ละแบบสอบถามมีการหาค่าดัชนีความตรง ได้ค่าดังนี้ แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม เท่ากับ .83 แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแล เท่ากับ .83 และ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมเท่ากับ .80 และหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .92, .93, และ .88 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 33.0 (SD. = 3.05) ระดับการศึกษาและการรับรู้ ความสามารถของผู้ดูแล มีอิทธิพลและสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมได้ร้อยละ 46 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = 0.464, F2,117 = 49.706, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยเฉพาะในผู้ดูแลที่มีระดับการศึกษาต่ำ เพื่อส่งผลให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น This predictive descriptive study aimed to examine influencing factors of Quality of Life (QoL) of Muslim preterm infants in the three southernmost provinces of Thailand. The Sample this study included 118 dyads of caregivers and their preterm infants aged 1-12 months. Data were collected from the sample at well-baby clinics of Narathiwas, Pattani, and Yala hospitals, where the caregivers took their infants to follow up. Research instruments used for data collection were developed by the researchers. Research instrument included the demographic record form, social support questionnaire, caregivers’ perceived self-efficacy questionnaire, record form of infant’s body weight, length, developmental level record, and illness history post-discharge from the hospital, and QoL of preterm infants questionnaire. Content validity indices (CVI) of social support questionnaire was .83, caregivers’ perceived self-efficacy questionnaire was .83, and QoL of preterm infant questionnaire was .80. Cronbach’s alpha coefficients’ reliability were .92, .83, and .88 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results revealed that QoL of the Muslim preterm infants was at a good level with its mean of 33.0 (S.D. = 3.05). Educational level and perceived self-efficacy of caregivers has an influence on and significantly accounted for 46.4% in the explanation of QoL of preterm infants (R2 = 0.464, F2,117 = 49.706, p < .001). The results of the study suggest that nurses should promote caregivers’ perceived self-efficacy in order to improve caregivers’ responding basic needs of preterm infants, especially in caregivers with low educational level. Consequently, QoL of preterm infants would be better.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2818
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
26-40.pdf1.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น