กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2795
ชื่อเรื่อง: การประเมินการแทรกซึมของคลอไรด์ระยะยาวในคอนกรีตภายใต้สิ่งแวดล้อมทะเลจาก ผลทดสอบโดยวิธี Bulk diffusion test
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ชาลี
ปุณยวีร์ นิลรัตน์
วัฒนา พุธโธทา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การแทรกซึม
คลอไรด์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
เถ้าถ่านหิน
วันที่เผยแพร่: 2558
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาการประเมินการแทรกซึมของคลอไรด์ระยะยาวในคอนกรีตภายใต้สิ่งแวดล้อมทะเล จากผลทดสอบ โดยวิธี Bulk diffusion test โดยใช้ส่วนผสมคอนกรีตที่แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ด้วยเถ้าถ่านหินจากแม่เมาะ ในอัตราส่วนร้อยละ 0 15 25 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน และมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.45 0.55 และ 0.65 (ส่วนผสมเดียวกับคอนกรีตที่แช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 12 ปี ) หล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 100 มม. สูง 200 มม. เพื่อทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์โดยวิธี Bulk diffusion test (แช่ตัวอย่างคอนกรีต ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เข้มข้น 2.8 โมลาร์เป็นเวลา 35 วัน) นอกจากนั้น ได้เก็บตัวอย่างคอนกรีตที่แช่ในน้ำ ทะเลบริเวณน้ำขึ ้นน้ำลงเป็นเวลา 12 ปี มาทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ผลการศึกษาพบว่า การใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในปริมาณที่มากขึ ้น ส่งผลให้การแทรกซึมของคลอไรด์ที่ทดสอบ โดยวิธี Bulk diffusion test มีแนวโน้มลดลง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีต หลังแช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลเป็นเวลา 12 ปี นอกจากนั้น คอนกรีตที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ต่ำลง ส่งผลให้การแทรกซึม ของคลอไรด์ในคอนกรีตธรรมดามีค่าลดลงมากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน การศึกษาครั้งนี้ สามารถประเมินการแทรกซึม ของคลอไรด์ในคอนกรีตที่แช่ในสิ่งแวดล้อมทะเลระยะยาว จากผลการทดสอบโดยวิธี Bulk diffusion test ได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2795
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
sci20n1p42-57.pdf690.1 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น