กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2782
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์กีฬาตำบลของการกีฬาแห่งประเทศไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประทุม ม่วงมี
กาหลง เย็นจิตต์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การกีฬาแห่งประเทศไทย
กีฬา
ศูนย์กีฬาตำบล
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2549
บทคัดย่อ: เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545-2549) การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งศูนย์กีฬาอำเภอและศูนย์กีฬาตำบลขึ้นทั่วประเทศ จำนวน 876 อำเภอ และ 6,747 ตำบล เพื่อทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมกีฬาในท้องถิ่นตั้งแต่ระดับตำบลและเพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรกีฬาระดับท้องถิ่นในการส่งเสริมการบริหารการกีฬา เนื่องจากการจัดตั้งและการดำเนินการของศูนย์กีฬาดังกล่าวยังค่อนข้างใหม่ เมื่อเทียบกับการดำเนินงานส่วนอื่น ๆ ทางด้านการกีฬาของประเทศทำให้การดำเนินงานยังไม่มีรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดในการทำวิจัยนี้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีขึ้นเพื่อพัฒนารุูปแบบการดำเนินงานศูนย์กีฬาตำบลให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกีฬาอย่างเป็นระบบ และมีการกระจายอำนาจการกีฬาสู่ระดับท้องถิ่นอย่างทั่วถึงในการพัฒนาการกีฬาตามยุทธศาสตร์กีฬาแห่งชาติ 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน 2. ด้านการพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน 3. ด้านการพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ 4. ด้านการพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ 5. ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา 6. ด้านการพัฒนาการบริหารทางการกีฬา โดยการวิจัยครั้งนี้ มีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่ม จำนวน 1,155 คน เป็นหัวหน้าสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัด จำนวน 63 คน เลขานุการศูนย์กีฬาตำบล จำนวน 364 คน ผู้ใช้บริการศูนย์กีฬาตำบบล จำนวน 728 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น .96 นำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS แล้วจัดทำรูปแบบเพื่อดำเนินการวิจัยในขั้นตอนที่ 2 โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คนตรวจสอบและผู้วิจพัฒนารูปแบบการดำเนินงานศูนย์กีฬาตำบล ผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอ รูปแบบการดำเนินงานศูนย์กีฬาตำบล ตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ดังนี้ ด้านการพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐานควรจะมีอาสาพัฒนาด้านการกีฬาของตำบล ด้านการพัฒนากีฬาเพื่อมวลชลควรจะมีสนามกีฬาให้มากขึ้น ด้านการพัฒนากีฬาเพ่อความเป็นเลิศ ควรจะจัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ด้านการพัฒนากีฬาเพื่อการอาชีพควรจะทำให้กีฬาในตำบลเป็นอาชีพมากขึ้น ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา ควรจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาในตำบลเพื่อพัฒนานักกีฬาและผู้ใช้บริการ และทางด้านการบริหารการกีฬา ควรจะมีโครงสร้างศูนย์กีฬาตำบลใหม่ ที่ประกอบด้วยประธานองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประธาน และมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านมาเป็นกรรมการ ผู้แทนจากการกีฬาแห่งประเทศไทยประจำตำบล ผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนในตำบลทุกชมรมกีฬา และกรรมการอาจมาจากการแต่งตั้งของประธาน ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นกรรมการและเลขานุการศูนย์กีฬาตำบล และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ด้านกีฬาของตำบลเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ตำบลกีฬา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2782
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
p29-36.pdf640.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
p29-36.pdf640.54 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น