กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2770
ชื่อเรื่อง: ผลของสารหลอกที่มีต่อความคาดหวัง การให้คุณค่าทางการกีฬาและความสามารถในการยกน้ำหนัก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
อภิญญา ดัชถุยาวัตร
วรรณ์ทนา พรหมสวย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การยกน้ำหนัก
กีฬายกน้ำหนัก
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
ความสามารถทางกีฬา
ยกน้ำหนัก
ยาหลอก
วิทยาศาสตร์การกีฬา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการได้รับสารหลอกถูกทดสอบอย่างต่อเนื่องในทางการแพทย์มากกว่า 50 ปี (Beedie & Foad, 2009, Levy & Earlewin, 2003; McClung& Collins, 2007) แต่ในปัจจุบันการวิจัยเชิงทดลองด้านกีฬาด้วยการใช้สารหลอก ยังไม่เป็นที่นิยมศึกษามากนัก เนื่องจากข้อจำกัดเรื่อง สารที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างและจริยธรรมในการวิจัย (Maganaris et al., 2000) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการได้รับสารหลอกกับ ความคาดหวังการให้คุณค่า และความสามารถในการยกน้ำหนัก ตามทฤษฎีความคาดหวังและการให้คุณค่า (Expectancy-Value Theory; Eccles et al., 1983) ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักกีฬายกน้ำหนักของโรงเรียนกีฬาจำนวน 115 คน อายุระหว่าง 14-18 ปี (M=15015,SD = 1.22) การเก็บข้อมูลเพื่อการทดลองแบ่งเป็น 2 ครั้งเว้นระยะเวลา 48 ชั่วโมง ในครั้งที่ 1 กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปทดสอบความแข็งแรงในท่าดันไหล่และทำการสุ่มเพื่อแบ่งกลุ่มโดยพิจารณาจากเพศ และความสามารถในการดันไหล่ ครั้งที่ 2 กลุ่มทดลองได้รับทราบข้อมูลว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทำให้มีพลังอย่างรวดเร็ว ตาได้รับสารหลอก ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับสารใดๆ จากนั้นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินความคาดหวังและการให้คุณค่าทางกีฬา (อภิญญา ดัชถุยาวัตร และคณะ, 2554) และทดสอบความสามารถสูงสุดในท่าดันไหล่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความคาดหวังและการให้คุณค่าทางกีฬาไม่แตกต่างกัน (p = .72) แต่การสามารถในการยกน้ำหนักท่าดันไหล่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .00) โดยที่ความสามารถในการยกน้ำหนักมีความสัมพันธ์กับตัวแปรคะแนนความคาดหวัง (r = .04) และมีความสามารถในการทำนายและความสามารถในการยกน้ำหนักได้ 22% สมการที่ไดคือ Y = .0262 (X) (Y = ความสามารถที่เปลี่ยนไป X = คะแนนความคาดหวัง) สรุปได้ว่านักกีฬายกน้ำหนักที่ได้รับสารหลอกมีความสามารถต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับสารใดๆ โดยที่คะแนนความคาดหวังทางการกีฬามีความสัมพันธ์กับความสามารถที่เปลี่ยนแปลงไปของนักกีฬากล่าวคือ ความคาดหวังส่งผลต่อการแสดงความสามารถทางการกีฬาและหากนักกีฬามีความคาดหวังและเชื่อก็จะส่งผลต่อความสามารถทางการกีฬาได้ ฝึกสอนและผู้เกี่ยวข้องจึงควรสนับสนุนให้นักกีฬามีความเชื่อในความสามารถของตนและให้คุณค่าในกีฬาที่คนเล่นเพื่อพัฒนาระดับของความคาดหวังในการกีฬาให้ส่งผลต่อความสามารถและองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาความสามารถทางการกีฬาได้ดียิ่งขึ้นต่อไป The placebo effects have been studied on medical setting for more than 50 years ago. (Beedie & Foad, 2009, Levy & Earlewin, 2003; McClung& Collins, 2007) The current researches in sport setting however are not widely studied, due to limitations in ethical issue and the use of the drug with subjects. (Maganaris et al., 2000) These experimental studies used to measure the placebo effect and the connection with level of expectations in sport, according to Expectancy-Value Theory (Eccles et al., 1983) is still not clarified in Thailand. Participants of this study were 115 weightlifters, age between 14-18 years (M=15015, SD = 1.22). Data were collected two times separated 48 hours from the first test. In the first test all subjects were answered the survey, and tested 1RM shoulder press. The participants were then matched randomly in term of weightlifting performance and sex in order to assign to a control or placebo group. In the second test, the placebo groups were informed about receiving a quick powerful dietary supplementary pill but they will consume a placebo. On the other hand he control group will not receive any additional substances. There after Sport expectancy-value Questionnaire (Dattuyawat et al., 2011) and 1RM shoulder press were test. The statistical analysis shown that the expectancy and values in sport were not different between groups (p = .72), but the 1RM shoulder press performance were statistically significant (p = .00). The correlation between expectancy and performance were .04 and expectancy was able to predict performance at 22% with the equation Y = 0.262 (x) (Y = performance different, X = expectancy point). In conclusion, the performances of placebo group are difference with control group and expectancy points are correlated with improving performance, the study suggests that expectation can affect physical ability. Moreover if the athletes do believe, it will give rise to enhance sport ability. Coaches and involved persons can take these proved advantage from the belief in which affects the ability to utilize benefit process of motivation in the athletes. And related persons have to developed athlete self efficacy believe in their ability. For increasing the level of value components for enhance athletic performance.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2770
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
1-20.pdf6.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น