กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2744
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
พรนภา หอมสินธุ์
ชฎาภรณ์ กลิ่นกุหลาบ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา - - โภชนาการ
บริโภคกรรม
โภชนาการ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคผักและผลไม้ และปัจจัยทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ใน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนประถมศึกษารับประทานผักและผลไม้สัปดาห์ละ 3 - 4 วัน ส่วนใหญ่จะรับประทานผักบ่อยกว่ารับประทานผลไม้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทำนาย พบว่าการบริโภคผักและผลไม้ของบิดาและมารดา/ ผู้ปกครอง (β = .306) การบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มเพื่อน (β =.204) การเข้าถึงแหล่งที่เอื้อต่อการบริโภคผักและผลไม้ (β =.189) ทัศนคติต่อการบริโภคผักและผลไม้ (β =.188) และความชอบส่วนบุคคลในการบริโภคผักและผลไม้ (β =.120) สามารถร่วม ทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาได้ ร้อยละ 42.7 โดยที่การบริโภคผักและผลไม้ ของบิดาและมารดา/ผู้ปกครองเป็นตัวแปรทำนายสูงสูดของการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่าการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนรับประทานผักและผลไม้ ควรเน้นการสร้างต้นแบบจากครอบครัวและเพื่อน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียน รวมทั้งการส่งเสริมให้เด็กมีทัศนคติที่ดีและความชอบส่วนบุคคลต่อการบริโภคผักและผลไม้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2744
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
pubh9n2p45-55.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น