กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2736
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.authorเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.authorลักษณ์มี จิรวัฒนธรรม
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:48Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:48Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2736
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ สภาพ และปัญหาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบสภาพการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัญหาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความน่าเชื่อถือ ยกเว้นด้านความน่าเชื่อถือ อยู่ในระดับน้อย 4. เปรียบเทียบปัญหาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศโดยรวม ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. แนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเพิ่มจำนวนที่นั่งรอรับบริการ 2) ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ เจ้าหน้าที่ควรฝึกทักษะในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ขอรับบริการเข้าใจได้ง่าย 3) ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้รับบริการ 4) ด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่ให้บริการควรมีการหมุนเวียนงานเพื่อให้สามารถทำงานแทนกันได้ และ 5) ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในแบบกัลยาณมิตรและควรเปิดใจรับฟังข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นของผู้มาใช้บริการth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษาth_TH
dc.subjectบริการลูกค้า. บริการของสถาบันอุดมศึกษาth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleสภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริการของกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeSituation problems and guidelines for developing service of registrar's office, Burapha Universityen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume9
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purposed of this research were to study and compare practice and problems of services of Registrar’s office at Burapha University as classified by sex, level and group of major of study of students and to study guidelines for the development of the services of Registrar’s office. The sampling was 381 students at Burapha University. The instruments used in this research were questionnaires and interview guide. For the analysis of the data, frequency, percentage, mean (x), standard deviation (SD), One-Way ANOVA and content analysis were used. As a result of this research, it was found that: 1. In general and in each particular aspect the practice services of Registrar’s office were found at a moderate level. Trust was ranked first, followed by Tangibles, Reliability, Responsive and Empathy, respectively. 2. When compare the services of Registrar’s office, as classified by sex, level and group of major of study, it was found no significance difference in the statistics. 3. Problem of the services of Registrar’s office, in general, were found at a moderate level, when considering in each particular aspect, all were found at a moderate level, except, Assurance, were found at a low level, Responsive was found the highest, followed by Empathy, Reliability, Tangibles and Assurance, respectively. 4. Compare the problem of the services of Registrar’s office, as classified by sex, found that: Responsive, Assurance and Empathy, were significant differences at the significant level of .05, as classified by level, for over all, it was significant differences at the significant level of .05, when classified by group of major, for over all and each particular, there were no significance in terms of statistics. 5. The guidelines for development of the services of Registrar’s office were: 1) Tangibles, the office should provide more sitting seat for students. 2) Reliability, the office should train the office personnel to be more effective in communication skills. 3) In terms of responsiveness, the office should allocate more personnel to serve student. 4) For Assurance, the office should rotate personnel who work in different duties, so that every personnel can work effectively in different duty. 5) Empathy, the officers should suggest the correct methods by being friendly and open mind, and to accept the opinion of students.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page139-150.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc9n2p139-150.pdf661.79 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น