กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2714
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.authorภคพนธ์ ศาลาทอง
dc.contributor.authorรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:47Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:47Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2714
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน สภาพและความต้องการจัดสวัสดิการสังคม กลไกสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม รวมถึงรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามกลุ่ม คนขับรถสหกรณ์แท็กซี่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สนทนากลุ่มกับผู้แทนกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาแรงงานนอกระบบและการจัดสวัสดิการสังคม จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ไม่มั่นคงและปลอดภัย เมื่อเจ็บป่วยจะดูแลตนเองด้วยการหยุดพักผ่อนและรับประทานยา ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะความรู้ ส่วนมากมักมีปัญหาหรือความขัดแย้งกับผู้ร่วมอาชีพและผู้รับบริการ แต่มีความภาคภูมิใจในอาชีพที่ทำและได้รับการยอมรับทางสังคม สำหรับสภาพการจัดสวัสดิการสังคม ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการด้านการประกันสังคม โดยเฉพาะสวัสดิการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือคลอดบุตร รองลงมาเป็นด้านการช่วยเหลือทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์และช่วยเหลือเงินกู้ฉุกเฉิน และสุดท้ายด้านบริการสังคมเกี่ยวกับการจัดบริการตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนความต้องการจัดสวัสดิการสังคม พบว่าให้ความสำคัญกับความต้องการด้านการมีชีวิตอยู่รอด โดยเฉพาะความต้องการจัดสวัสดิการประกันสังคม รองลงมาเป็นความต้องการด้านความเจริญก้าวหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการกองทุนพัฒนาอาชีพ และสุดท้ายความต้องการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เกี่ยวกับจัดสวัสดิการคุ้มครองความปลอดภัยในอาชีพ กลไกสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคม พบว่าควรคำนึงถึงสภาพและความต้องการจัดสวัสดิการสังคม รวมทั้งหลักการจัดสวัสดิการสังคม ประกอบด้วย การจัดสวัสดิการสังคมตามพื้นที่การจัดสวัสดิการสังคมตามวิธีการ การจัดสวัสดิการสังคมตามการเคลื่อนไหวทางสังคม และการจัดสวัสดิการสังคมโดยสถาบัน ทั้งนี้คำนึงถึงสิทธิความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางโอกาส โดยใช้กลไกระดับนโยบาย ระดับการบริหารจัดการ และระดับการดำเนินงานในการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมของกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่ รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคม พบว่ามี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเชิงทฤษฎีหรือหลักการ ประกอบด้วย การจัดสวัสดิการสังคมระดับชาติ การจัดสวัสดิการสังคมระดับท้องถิ่น การจัดสวัสดิการสังคมระดับเอกชนหรือสถานประกอบการ และการจัดสวัสดิการสังคมระดับกลุ่ม และรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเชิงปฏิบัติหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ได้แก่ การจัดสวัสดิการเพื่อความมั่นคงทางอาชีพเหมาะสำหรับคนขับรถแท็กซี่ที่ไม่ใช่สมาชิกของสหกรณ์รถแท็กซี่ และการจัดสวัสดิการเพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพ เหมาะสำหรับคนขับรถแท็กซี่ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์รถแท็กซี่th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectคนขับรถแท็กซี่th_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานth_TH
dc.subjectบริการสังคมth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มคนขับรถสหกรณ์แท็กซี่เขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeSocial welfare for taxi cooperatives' drivers in Bangkoken
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume9
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study quality of working life, conditions and needs for social welfare, social welfare mechanism, as well as models of social welfare provision for cooperatives’ drivers. This study is based on mixed methods research. The data was collected from questionnaires distributed to 380 cooperatives’ drivers. Descriptive analysis was used to analyze the collected data. The research data was also gathered from focus group discussion with 10 cooperatives’ driver representatives and stakeholders. In addition, in-depth interviews were conducted with 6 experts and senior experts in the field of developing informal sectors and social welfare. The data derived from the discussion and interviews was analyzed by means of content analysis. The research findings were as follows: As for quality of working life, most of the informants revealed that they lacked job security and safety. When they got sick, they would take care of themselves by having a rest and taking pills. They never participated any activities for knowledge and skill development. Most of them had problems or conflicts with friends in the same career and their passengers. However, most of them were proud of their own job and acceptance from the society. Regarding conditions for social welfare, most cooperatives’ drivers placed the most importance on social insurance, especially for health care welfare on sickness or give birth. The second importance was placed on public assistance welfare concerning general assistance and emergency loans. The last one was on social welfare service on annual health check-up. In terms of needs for social welfare provision, most of the cooperatives’ drivers placed the importance on existence needs, especially for social insurance. The second importance was placed on growth needs dealing with career development welfare fund. The last one was on relatedness needs on welfare needs for safety of life. Regarding mechanism which supported social welfare, the findings revealed that conditions and welfare needs, as well as social welfare provision principles should be taken into consideration. These social welfare principles covered area-based, method-based, social movement-based Regarding mechanism which supported social welfare, the findings revealed that conditions and welfare needs, as well as social welfare provision principles should be taken into consideration. These social welfare principles covered area-based, method-based, social movement-based and institutional-based models. However, this should be based on human right and equality of opportunity. To support social welfare provision for the cooperatives’ drivers, mechanism on the level of policy, management, and operation have to be considered. Lastly, there were two types of social welfare models: theoretical and practical models. The theoretical model included national social welfare, local social welfare, social welfare in private sectors and workplaces, and group social welfare provision. The practical model included social welfare for job security, which was appropriate for those who were not members of cooperatives’ drivers and social welfare for career advancement appropriate for those who were cooperatives’ drivers.en
dc.journalวารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page80-95.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
edusoc9n1_7.pdf986.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น