กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2707
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to fatigue among bus drivers in a zone of Bangkok Mass Authority, Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
กนิษฐา บุญภา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: คนขับรถประจำทาง
ความล้า
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 162 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความรู้สึกเมื่อยล้า และตรวจวัดความเมื่อยล้าด้วย (Critical Flicker Frequency = CFF) สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson correlation และ Chi square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี อายุเฉลี่ย 45.04 ปี อายุงานเฉลี่ย 13.37 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.3 มีการทำงาน วันละ 8 มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 30.9 ความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัยหลังปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.8 และ ระดับต่ำ ร้อยละ 22.2 และมีความเมื่อยล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ร้อยละ 32.1 เมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่าจำนวนปีของรถโดยสารประจำทาง (X2 = 6.238, p = .004) ระยะทางการขับรถแต่ละเที่ยว (r = -.216) ระยะเวลาพักแต่ละเที่ยว (r = -.188) มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ (r = -.307) รายได้ (r = -.288) จำนวนบุตร (r = -.318) อายุงาน (r = -.317) ชั่วโมงการนอนหลับ (r = .281) เวลาในการออกกำลังกาย (X2 = 15.833, p = .001) มีสัมพันธ์กับค่า CFF อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.01 ดัชนีมวลกาย (r = -.227) ระดับการศึกษา (X2 = 13.919, p = .003) มีโรคประจำตัว (X2 = 4.924, p = .026) มีการทำงานพิเศษนอกจากงานขับรถ (X2 = 8.390, p = .004) มุมของที่นั่งกับพนักพิงหลัง (X2 = 6.183, p = .013) การสูบบุหรี่ (X2 = 8.134, p = .004) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ (r = -.224) จำนวนมวนที่สูบบุหรี่ต่อวัน (r = -.198) การออกกำลังกาย (X2 = 4.0, p = .045) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = -.158) มีความสัมพันธ์กับค่า CFF อย่างมีนัยสำคัญที่ สถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไป วางแผน ป้องกันปรับเปลี่ยน สนับสนุน ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับ ความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางได้ในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2707
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
pubh8n2p54-66.pdf739.01 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น