กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/261
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารความเสียงที่เปราะบางเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลกับการจัดการที่สัมพันธ์กับผลผลิตตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk management model as vulnerability areas of management and human relation with role and authority of Thai autonomous public university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธร สุนทรายุทธ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารทรัพยากรมนุษย์
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเสี่ยงที่เปราะบางด้านทรัพยากรบุคคลกับการจัดการโดยการจัดลำดับความเสี่ยงนั้น ๆ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง 3 กลุ่ม และ 3) เสนอรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่เปราะบางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลกับการจัดการที่สัมพันธ์กับผลผลิตตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ออกนอกระบบ) การวิจัยใช้ระเบียบผสมระหว่างปริมาณและคุณภาพ (Mix Method Research) ในการหาข้อมูลความเสี่ยงจากเอกสาร แบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติด้านความเสี่ยงโดยตรง หลังจากนั้นจึงได้ปรับแบบสอบถามเพื่อใช้กับผู้บริหารระดับสูง 3 กลุ่มในสภาพก่อนและหลังการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐด้วยเทคนิคเดลไฟล์ประยุกต์ การทดสอบความสอดคล้องของผู้บริหารระดับสูง 3 กลุ่มโดย The Kruskal Walls One-way Analysis of Variance by Ranks แล้วใช้เทคนิคแบบพหุลักษณะเนื้อหาฉันทามติ (Multi Attribute Consensus Reachnig: MARC) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยความเสี่ยงที่เปราะบางบางด้านทรัพยากรบุคคล มี 6 ประเด็น ได้แก่ 1) วิธีการสรรหาอาจารย์ ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอทำให้ไม่ได้คนดี คนเก่งมาเป็นอาจารย์ 2) การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทำให้ผู้สมัครเป็นอาจารย์คิดว่าไม่มั่นคงจึงขาดแรงจุงใจในการทำงาน 3)ยังไม่มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้สมัครเป็นอาจารย์ทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4)ระบบเลื่อนขั้นเงินเดือนอาจไม่สัมพันธ์กับการทำงานอย่างแท้จริง แต่/และรายได้ขึ้นอยู่กับโอกาส 5)ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานทางวินันอาจารย์หรือพนักงานที่มีประสิทธิภาพ 2. องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับผลผลิตตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในกำกับมี 6 ประเด็นได้แก่ 1) ผู้บริหารใช้งบประมาณไม่เป็นไปตามแผนงาน 2) ควรมีหน่วยงานมากำหนดทิศทางอนาคตของมหาวิทยาลัย 3) คุณภาพการบริหารและการได้มาซึ่งผู้บริหาร 4) คุณภาพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาขาดความรู้ทางศิลปศาสตร์ 5) ขาดผลงานวิจัยเชิงสรา้งสรรค์องค์ความรู้ใหม่และต่อยอดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และ 6) มหาวิทบาลัยพึงเป็นผู้นำเชิงความคิดแก่ชุมชน ส่วนผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของผู้บริหารระดับสูง 3 กลุ่ม ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องมีข้อยกเว้นปัจจัยความเสี่ยง ด้านการประเมินผลงานอาจารย์เป้นระบบ เน้นประสิทธิภาพและมีองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการจัดการและคุณภาพอยู่ 2 ด้านคือ การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนับว่าเป็นข้อขัดแย้งที่ยังไม่มีฉันทามติระหว่างกลุ่มผู้ซึ่งจะต้องนำไปสร้างความเข้าใจให้ตรงกันในด้านงานหลัก และงานรองของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างผู้บริหารก่อนที่จะนำสู่กรบริหารจัดการความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/261
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น