กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/260
ชื่อเรื่อง: คุณภาพน้ำในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Waterquality of marine recreation areas in Chon Buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉลวย มุสิกะ
วันชัย วงสุดาวรรณ
อาวุธ หมั่นหาผล
พัฒนา ภูลเปี่ยม
แววตา ทองระอา
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: คุณภาพน้ำทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
แบคทีเรีย
แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาคุณภาพน้ำในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล บริเวณหาดบางแสน หาดพัทยา และหาดจอมเทียน โดยการตรวจสอบวัดคุณภาพน้ำเดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 -มกราคม พ.ศ.2555 ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพน้ำในแต่ละบริเวณมีค่าต่ำสุด-สูงสุดดังนี้ บริเวณหาดบางแสน ออกซิเจนละลาย 3.8 - 8.5 mg/L แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด 27 - 24,000 MPN/100 mL แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (รูปที่ไม่มีอิออน) 0.73-18.4 µg/L ไนเตรท-ไนโตรเจน 0.88-264 µg/L และฟอตเฟต-ฟอสฟอรัส <1.5 - 45.8 µg/L บริเวณหาดพัทยาออกซิเจนละลาย 4.2 - 7.2 mg/L แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด 8 - 2,400,000 MPN/100 mL แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (รูปไม่มีอิออน) 0.41 - 195 µg/L ไนเตรท-ไนโตรเจน 2.72 - 954 µg/L และฟอตเฟต-ฟอสฟอรัส <1.5 - 207 µg/L บริเวณหาดจอมเทียนาออกซิเจนละลาย 5.1 - 8.7 mg/L แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด 23 - 3000 MPN/100 mL แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (รูปไม่มีอิออน) 0.94 - 29.3 µg/L ไนเตรท-ไนโตรเจน 1.52 - 215 µg/L และฟอตเฟต-ฟอสฟอรัส <1.5 - 117µg/L คุณภาพน้ำทั้ง 3 บริเวณมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยบริเวณหาดพัทยาค่อนข้างเสื่อมโทรมกว่าหาดบางแสนและหาดจอมเทียน เนื่องจากพัทยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดชลบุรี และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับนานาชาติของประเทศไทยด้วย จึงทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเมืองพัทยาขยายตัวอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/260
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น