กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2563
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในประเทศไทย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี มหาขันธ์
Ren Zhiyuan
Sakdina Bunpiem
ศักดินา บุญเปี่ยม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การปรับตัวทางสังคม
นักศึกษาต่างชาติ - - การดำเนินชีวิต
นักศึกษาต่างชาติ
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน ๒๕๗ คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งค่าสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (Percentage)และค่าเฉลี่ย (Mean) และการวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏว่า ปัญหาทั่วไปในการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษาชาวจีนเป็นปัญหาที่เกิดจากภาษา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะปัญหาในด้านการใช้ภาษาไทย ด้านสุขภาพ ด้านค่านิยม เป็นต้น โดยภาพรวม นักศึกษาชาวจีนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับไม่ค่อยมีปัญหา การสนับสนุนทางสังคมนั้น ผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายการคบเพื่อนของนักศึกษาชาวจีนเป็นกลุ่มขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่จะคบเพื่อนคนจีน และเพื่อนคนไทยเป็นบางส่วน ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนแก่นักศึกษาชาวจีนในหลายด้านตามความสามารถและบทบาทในสังคมไทย การเข้าร่วมกิจกรรมสังคมสามารถทำให้นักศึกษาชาวจีนได้รับผลประโยชน์ทั้งในการดำรงชีวิต การใช้ภาษาไทย และการศึกษา ส่วนวิธีการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนมี ๖ วิธีการ คือ การบูรณาการ (Integration) การผสมผสาน (Assimilation) การแบ่งแยก ( Separation) กระบวนการชายขอบ (Marginalization) การบูรณาการกับการผสมผสาน (Integration and Assimilation) และการผสมผสานกับการแบ่งแยก (Integration and Separation) โดยภาพรวม วิธีการผสมผสานเป็นวิธีการที่นักศึกษาชาวจีนได้เลือกใช้เป็นจำนวนมากที่สุด สำหรับกระบวนการในการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนมีสองแนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง เมื่อนักศึกษาชาวจีนเข้ามาในประเทศไทยในตอนแรกจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับการพบสิ่งแปลกใหม่ หลังจากนั้น เกิดการช็อกทางวัฒนธรรม แล้วเริ่มมีการปรับตัวทางวัฒนธรรม แนวทางที่สอง คือ นักศึกษาชาวจีนจะมีการช็อกทางวัฒนธรรมในช่วงแรกก่อน แล้วค่อยปรับตัว เพื่อที่จะดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่นักศึกษาชาวจีนส่วนใหญ่ได้ประสบผ่านมา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในมหาวิทยาลัยไว้เป็น ๓ ประเด็น คือ การอบรมภาษาไทย การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติประจำมหาวิทยาลัย และการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2563
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p185-201.pdf4.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น