กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2553
ชื่อเรื่อง: การสอนน้อยเรียนมาก มุมมองของผู้บริหารการศึกษา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี อนันต์นาวี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารการศึกษา
การศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การสอนให้น้อย การเรียนรู้ให้มาก” มีชื่อย่อว่า TLM เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนของประเทศสิงคโปร์ โดยครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนสามารถเลือกวิธีการเรียนรู้และได้รับความรู้จากการผ่านทักษะการคิดต่าง ๆ “ การสอนให้น้อย การเรียนรู้ให้มาก” ควรให้นักเรียนสามารถคิดความรู้ใหม่ ๆ และในกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ นักเรียนเรียนรู้มากกว่ากระบวนการเรียนรู้ โดยกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ นักเรียนสามารถเรียนรู้มากกว่ากระบวนการเรียนรู้เดิม ๆ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในโลกของความจริงได้ วัตถุประสงค์ของ “ การสอนให้น้อยการเรียนรู้ให้มาก “ เพื่อสัมผัสและเข้าถึงจิตใจของนักเรียน นำไปสู่การเตรียมตัวเพื่อการใช้ชีวิตของนักเรียน การจัดการเรียนให้ประสบความสำเร็จ ครูควรหาคำตอบจากคำถามว่า ครูสอนทำไม ครูสอนทำไม ครูสอนอะไรและครูสอนอย่างไร “การสอนให้น้อย การเรียนรู้ให้มาก” เป็นการสร้างจากสรุปความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆโดยการปรับปรุงโครงสร้าง อย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิด “ โรงเรียนนักคิดชาติแห่งการเรียนรู้ “(Thinking School, Learning Nation – TSLN) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และการเรียนบรรลุผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา (the Desired Outcome of Education-DOEA) “ การสอนให้น้อย การเรียนรู้ให้มาก “ จึงเป็นแนวคิดสู่การปฏิบัติของการจัดการศึกษาที่สำคัญที่ส่งผลให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นโรงเรียนนักคิดชาติแห่งการเรียนรู้เป็นมุมมองของผู้บริหารการศึกษา ควรที่จะศึกษาและนำมาใช้จัดการศึกษากำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ การพัฒนาครู การพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียน การวัดประเมินผลการเรียนและการนิเทศการสอน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2553
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p25-40.pdf1.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น