กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2519
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.available2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2519
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการควบคุมอารมณ์ และ ระดับการตระหนัก รู้ทางสังคมของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการ ควบคุมอารมณ์กับการตระหนักรู้ทางสังคม 3) เพื่อศึกษาการควบคุมอารมณ์ที่ส่งผลต่อการตระหนักรู้ทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2554 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคม ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดย ใช้กรอบแนวคิดของกรีนสแปน และ ดิสคอล และ แบบวัดการควบคุมอารมณ์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิด ของ โรเจอร์ และ นาจาเรียน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคมและแบบวัดการควบคุมอารมณ์ โดยใช้สูตรความสอดคล้องภายในแบบอัลฟา (α) ของครอนบัค (Cronbach) เท่ากับ 0.84 และ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีระดับการควบคุมอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางโดย องค์ประกอบการควบคุมอารมณ์ด้านการควบคุมอารมณ์ให้สมเหตุสมผล มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การยับยั้งอารมณ์ ด้านการทบทวนอารมณ์ และ การควบคุมความก้าวร้าว ตามลำดับ 2. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีระดับการตระหนักรู้ทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยองค์ประกอบด้านการรับรู้ต่อสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการเข้าใจสังคม ด้านการมีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหาสังคม และ ด้านการสื่อสารทางสังคม ตามลำดับ 3.การควบคุมอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสัมพันธ์กับการตระหนักรู้ทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นขนาดความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทางบวก 4.การควบคุมอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ใช้เป็นตัวแปรพยากรณ์มีความสัมพันธ์กับการตระหนักรู้ทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการควบคุมอารมณ์th_TH
dc.subjectการตระหนักรู้ทางสังคมth_TH
dc.subjectความตระหนักth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ - - นักศึกษาth_TH
dc.subjectอารมณ์th_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมอารมณ์กับการตระหนักรู้ทางสังคมของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume23
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study Emotional control level and Self awareness level of undergraduated students, Faculty of education, Burapha university. 2) to study the relationship between Emotional Control and Social awareness. 3) to study the effects of emotional control on social awareness. The subjects were 370 undergraduated students from Faculty of education , Burapha university, in 2011 academic year. The instruments were used in this research were social awareness questionnaire that researcher developed from Greenspan and Driscoll conceptual framework and emotional control questionnaire that researcher developed from Roger and Najarain conceptual framework. The reliability of social awareness questionnaire, alpha Cronbach was 0.84 and the reliability of emotional control questionnaire, alpha Cronbach was 0.78. Data analysis were used by descriptive statistics, percentage, mean, standard deviation, correlation and Multiple regression. The results of the study were as follows : 1. Undergraduated students of faculty of education, Burapha university had moderate emotional control level in total group. The reasonable control of emotion factor had highest mean score, and then emotional inhibition, rumination and aggression control, respectively. 2. Undergraduated students of faculty of education, Burapha university had moderate social awareness level in total group. The social sensitivity factor had highest mean score, and then social comprehension, Social problem solving Involvement , and social communication respectively. 3. The relationship between emotional control and social awareness of Undergraduated students, Faculty of education, Burapha university was statistically significant at the 0.05 level. Correlation Coefficient was moderate in positive direction. 4. Emotional Control of Under graduated students of Faculty of education, Burapha university could predict social awareness statistically significant at the 0.05 level.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสาตร์ = Journal of education.
dc.page230-243.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p230-243.pdf5.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น