กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2486
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.authorเอกวิทย์ มณีธร
dc.contributor.authorธีระ กุลสวัสดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:15:59Z
dc.date.available2019-03-25T09:15:59Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2486
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจทางด้านการเมือง ระดับความโน้มเอียงทางการเมือง และระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 3,126 คน จากมหาวิทยาลัย 9 แห่ง ในภาคตะวันออก เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา จำนวน 41 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80 (Student Version) ในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับความโน้มเอียงทางการเมืองด้านความสำนึกในหน้าที่ผลเมืองอยู่ในระดับมาก ความไว้วางใจทางการเมืองและความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง 3) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งอยู่ในระดับมาก การรณรงค์ให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนในระดับปานกลาง การติดตามสภาพการณ์เคลื่อนไหวทาง การเมืองอยู่ในระดับปานกลาง การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง และการชุมนุมทางการเมืองอยู่ในระดับน้อย 4) การวิเคราะห์แบบจำลองความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา สถาบันศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบค่าไคสแคว์ มีค่าเท่ากับ 22.71 ที่องศาอิสระเท่ากับ 14 ค่า X2 /df =1.62 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ .065 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .999 ดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .993 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .999 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .009 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .014 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาได้ร้อยละ 58 ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า 1) ความโน้มเอียงทางการเมืองได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (DE=.24) 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (DE=.28) และความโน้มเอียงทางการเมือง (DE= .64) และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความรู้ความเข้าใจทางการเมืองผ่านความโน้มเอียงทางการเมือง (IE=.16) และผลการวิเคราะห์โมเดลจำแนกตามมหาวิทยาลัย 9 แห่ง ให้ผลการศึกษาที่สอดคล้องกันth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมืองth_TH
dc.subjectการเมืองth_TH
dc.subjectความโน้มเอียงทางการเมืองth_TH
dc.subjectนักศึกษา - - กิจกรรมทางการเมืองth_TH
dc.subjectสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
dc.titleแบบจำลองความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา สถาบันศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe models of political perception, political orientation and political participation of students in eastern region's educational institutions in Thailanden
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume4
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research aims at: 1) studying the level of political understanding, the level of political affiliation, and the political participation of undergraduate students; 2) justifying the correlation between the causal relationship model, developed by and empirical data, affecting political participation of undergraduate students; and 3) develop the causal relationship model on political understanding, the level of political affiliation, and the political participation of undergraduate students. Samples of this study derive from 3,126 undergraduate students from nine universities in the Eastern region. The research instrument is questionnaires with 41 questions testing political understanding, the level of political affiliation, and the participation of undergraduate students. Data were analyzed by descriptive statistical analysis from LISREL 8.80 (Student Version) by examing the causal relationship model. The result indicates that 1) the level of political understanding in every aspect is on the highest; 2) the level of political affiliation in the citizenship is high; while, political satisfaction and political capability are both medium; 3) the level of political participation on election is high, on political campaign is medium, on political movement absorption is medium, and on political movement is low; and 4) An analysis on the casual relationship model of the level of political understanding, the level of political affiliation, and the political participation of universities in the Eastern region discovers that is consistent with test of goodness of fit equally Chi-square (X2) = 22.71, degrees of freedom (df) =14, x2/df =1.62 probability (p-value) = .065, Goodness of Fit Index (GFI) = .999, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = .993, Comparative Fit Index (CFI) .999, Standardized root mean square residual (SRMR) =.009, Root mean square error of approximation (RMSEA) =.014. All model variables indicated the political participation of student total 58 percents. The assumption test demonstrated that 1) the political affiliation is an direct result of the political understanding (DE= .04); 2) the political understanding (DE=.28) and the political affiliation (DE=0.64) as well as the political participation is an in indirect result of political affiliation (IE= .06). The result of model analysis on each university is consistenten
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of Politics, Administration and Law
dc.page233-257.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p233-257.pdf3.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น