กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2482
ชื่อเรื่อง: โพรไบโอติก : อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการใช้โพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
ไตรมาศ บุญไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยงในน้ำ
โพรไบโอติก
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2552
บทคัดย่อ: การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอุตสาหกรรมทีสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยปริมาณมหาศาล แต่เนื่องด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบพัฒนาที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันเป็นระบบการเพาะเลี้ยงแบบพมฯาที่นำมาซึ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้มและระบบเพาะเลี้ยงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม การเกิดโรคระบาดบ่อยครั้ง การสะสมของสารอินทรีย์ในปริมาณสูงและมีผลกระทบต่อระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทางเลือกหนึ่งที่สามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้คือ การใช้โพรไบโอติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกันและส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารของสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำมีอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตเพิ่มสูงขึ้น อำกทั้งการใช้โพรไบโอติกทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและให้ผลที่ยั่งยืน ซึ่งการใช้โพรไบโอติกในอดีตนั้นมุ่งเน้นใช้งานในผลิตภัณฑ์ อาหารคนและอาหารปศุสัตว์ ในขณะที่การใช้โพรไบโอติกเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพิ่งได้รับความสนใจเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการใช้โพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงสัตว์นำในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วยเพิ่มผลผลิตของสัตว์น้ำและช่วยลดปัญหาการเกิดโรคได้มาก แต่อย่างไรก็ตามการใช้โพรไบโอติกในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้เกิดจากข้อจำกัดประการหนึ่งของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก คือ ปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ไม่ตรงตามที่กำหนดบนฉลากของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งจุลินทรีย์มีอายุการใช้งานไม่นานเพียงพอทำให้เมื่อผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษานานขึ้นจะมีปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ลดลง และทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพลดลง ดังนั้นการใช้โพรไบโอติกในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอนาคตนั้นควรมีหน่วยงานทางวิชาการแนะนำให้มีการใช้โพรไบโอติกที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน เนื่องจากการใช้โพรไบโอติกนอกจากช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของสัคว์น้ำได้แล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตจากค่าใช้จ่ายในการใช้ยาปฏิชีวนะและลดการดื้อยาของเชื้อก่อโรคที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและที่สำคัญที่สุดจะทำให้ผลผลิตโดยรวมของผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศไทยมีคุณภาพสูงขึ้นและไม่มีการตกค้างหรือปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2482
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
67-79.pdf243.91 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น