กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2400
ชื่อเรื่อง: การยืนยันการจำแนกชนิดของปูแสมสกุล Metopograpsus H. Milne Edwards, 1853 (Crustacea: Grapsidae) จากจังหวัดชลบุรี โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีนบนโมโทคอนเดรียบริเวณ 16S rRna, 125 rRna และ Cytochrome c Oxidase Subunit l (COI)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Verification on morphological identification of grapsid crabs genus Metopograpsus H. Milne Edwards, 1853 from chon buri province using partial sequences of mitochondrial 16S rRNA, 125 rRNA and Cytochrome c Oxidase Subunit l (COI) genes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
วันศุกร์ เสนานาญ
Yamindago, Ade
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปูแสม. ปูแสม - - การจำแนก
ลำดับนิวคลีโอไทด์
ไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2013
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของบริเวณยีน 16S rRNA, 12S rRNA และ Cytochrome c oxidase subunit I (COI) เพื่อจะแยกความแตกต่างระหว่างชนิดของปูแสมที่มีสัณฐานคล้ายกัน สกุล Metopograpsus 3 ชนิดจากจังหวัดชลบุรี คือ Metopograpsus oceanicus (Hombron and Jacquinot, 1846), M. frontalis Miers, 1880 และ M. latifrons (White, 1847) ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าเครื่องหมายพันธุกรรมทุกประเภทสามารถบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างชนิดได้ชัดเจน โดยความแตกต่างของลำดับ นิวคลีโอไทด์ ระหว่างปูทั้งสามชนิด มีค่าระหว่าง 5.8% ถึง 7.9% (ยีน 16S rRNA และ 12S rRNA genes) และระหว่าง 8.7% ถึง 12.3% (COI) ส่วนความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ภายในชนิดมีค่า 0.0% ถึง 1.9% การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่ได้จาก ทุกยีน บ่งชี้ความแตกต่างระหว่างชนิดได้อย่างชัดเจน การวิเคราะห์ยีน 16S rRNA และ 12S rRNA โดยวิธี Maximum Likelihood, ML; Neighbor Joining, NJ; Maximum Parsimony, MP แสดงความใกล้ชิดของ M. frontalis และ M. latifrons อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ยีน COI แสดงความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันของ M. frontalis และ M. oceanicus We analyzed the partial sequences of mitochondrial 16S rRNA, 12S rRNA and Cytochrome c oxidase subunit I (COI) genes to discriminate three morphological species of grapsid crabs, Metopograpsus oceanicus (Hombron and Jacquinot, 1846), M. frontalis Miers, 1880 and M. latifrons (White, 1847). All genetic markers were informative for species identification. Interspecific nucleotide divergence among these species ranged from 5.8% to 7.9% (16S rRNA and 12S rRNA genes) and from 8.7% to 12.3% (COI gene). Intraspecific divergence levels ranged from 0.0% to 1.9%. Phylogenetic analyses based on all approaches revealed clear differentiation among the three Metopograpsus species (bootstrap values = 50 to 100). Mitochondrial 16S rRNA and 12S rRNA gene sequences suggested M. frontalis and M. latifrons were closely related by Maximum Likelihood, ML; Neighbor Joining, NJ; Maximum Parsimony, MP analyses. However, COI gene sequence suggested that M. frontalis and M. oceanicus were more closely related.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2400
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
181-193.pdf1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น