กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/239
ชื่อเรื่อง: การย้ายปลูกสาหร่าย Sargassum บริเวณเกาะแรด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Transplanting of Sargassum at rad island, Sattahip district, Chon buri, province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธิดารัตน์ น้อยรักษา
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์
สุพัตรา ตะเหลบ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สาหร่าย - - การเจริญเติบโต
สาหร่ายทะเล - - การเพาะเลี้ยง - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การย้ายปลูกสาหร่าย Sargassum บริเวณเกาะแรด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนธันวาคม 2554 โดยใช้วัสดุ 2 แบบ คือแบบที่ 1 ท่อคอนกรีตทรงสามเหลี่ยมหล่อโปร่ง การลงเกาะของสาหร่าย Sargassum จะเกิดได้ดีบริเวณใกล้ฝั่ง ในปีที่ 2 ได้ย้ายวัสดุที่อยู่บริเวณไกลฝั่งเข้ามาบริเวณใกล้ฝั่ง ส่วนการปกคลุมพื้นที่ ของสาหร่ายสีน้ำตาล และสาหร่ายสีเขียว ผลรวมระหว่างปัจจัย (เดือนและพื้นที่) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ผลการตรวจวัดกระแสน้ำแสดงให้เห็นว่าความเร็วและทิศทางของกระแสน้ำในบริเวณที่ตรวจวัดโดยเฉพาะจุดบริเวณใกล้ฝั่ง เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาต่างๆ ในรอบปี เกิดจากอิทธิพลของคลื่น ลม และน้ำขึ้นน้ำลง สำหรับจุดวัดบริเวณใกล้ฝั่ง กระแสน้ำบริเวณนี้มีลักษณะปั่นป่วนมากกว่าเกิดจากอิทธิพลของคลื่นซึ่งจะมีความเด่นชัดมากขึ้นในวันน้ำตาย (Neap tide) กระแสน้ำในส่วนของบริเวณส่วนใหญ่มีกระแสน้ำไหลไปทางทิศใต้ คลื่นมีความรุนแรงทำให้กระแสน้ำทั้งบริเวณใกล้ฝั่ง และไกลฝั่งมีลักษณะที่ปั่นป่วนแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย คลื่นที่รุนแรงมากเกินไปทำให้เกิดการฟุ้งกระจายและทับถมของตะกอนทรายบนวัสดุที่ทิ้งไว้ให้สาหร่ายลงเกาะ เกิดการรบกวนต้นอ่อนของสาหร่ายที่ลงเกาะทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตหรือเกิดความเสียหายได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/239
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น