กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2336
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภิญญดาพัชญ์ เพ็ชรรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:44Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:44Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2336
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจและการปฏิบัติของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัยในจังหวัดชลบุรีและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจและและการปฏิบัติของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารจำนวน 196 คน และครูปฐมมวัยจำนวน 396 คน ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชลบุรี แบบวัดความเข้าใจกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวดความเข้าใจและแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าความเข้าใจของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ โดยผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเข้าใจมากที่สุดในการสรรหาครูผู้สอนที่จบการศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยและมีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุดในการแนะนำครูตอบสนองต่อพฤติกรรมการเขียนของเด็กในแนวทางที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่ม และครูปฐมวัยส่วนใหญ่มีความเข้าใจมากที่สุดในการส่งเสริมให้ครูจัดสภาพแวดล้อมด้วยสื่อตัวหนังสือที่มีความหมายต่อตัวเด็ก และมีความเข้าใจน้อยที่สุดในการตอบสนองต่อพฤติกรรมการเขียนของเด็กในกรณีที่เด็กเขียนไม่ถูกต้องโดยไม่แก้ไขทันทีขณะที่เด็กพยายามเขียนจากการคิดวิธีสะกดขึ้นเองโดยผสมพยัญชนะและสระตามเสียงของคำพูดที่ได้ยิน (2) การปฏิบัติของผู้บริหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ปฏิบัตืเหมาะสมโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การกำหนดเนื้อหาของหลักสูตรที่มีความหมายต่อตัวเด็กในการใช้ภาษาสื่อความหมายที่ถูกต้อง การแนะนำผู้ปกครองให้ยอมรับเด็กโดยรับฟังความคิดเห็นและรับร็ความรู้สึกของเด็ก การแนะนำให้ครูนำผลการประเมินพัฒนาการทางภาษามาใช้ในการวางแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม การกำหนดนโยบายให้ครูประสานงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาเด็กที่เหมาะสมและการสนับสนุนครูให้เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์กับผู้อื่ร ครูปฐมวัยส่วนใหญ่ปฏิบัติที่เหมาะสมโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ การนำผลการประเมินพัฒนาการทางภาษาไปใช้วางแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม การสื่อสารกับผู้ปกครองให้ยอมรับและสนับสนุนพฤติกรรมการอ่านเขียนขั้นต้นของเด็ก การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กในการใช้ภาษาสื่อความหมายที่ถูกต้อง การออกแบบตารางกิจวัตรประจำวันโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างกิจกรรมที่ครูริเริ่มและเด็กริเริ่ม และการจัดทำหรือปรับปรุงหลักสูตร โดยคำนึงถึงบริบทของสังคม วัฒนธรรมไทยและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริหารและครูปฐมวันปฏิบัตืไม่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มในด้านการจัดประสบการณ์ทางการอ่านเขียนโดยเน้นการท่องจำหรือทำแบบฝึกหัดอ่านเขียนอย่างเป็นทางการ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจและการปฏิบัติของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัตืที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มในทุกด้านพบว่ามีความสัมพันธ์กันระดับต่ำมากในทิศทางบวก โดยเฉพาะก้านการประเมินพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มและด้านการส่งเสริมความเข้าใจของผู้ปกครองในการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำในทิศทางลบth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการศึกษาปฐมวัย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectครูอนุบาลth_TH
dc.subjectความเข้าใจth_TH
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียนth_TH
dc.subjectพัฒนาการทางภาษาของเด็กth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษาความเข้าใจของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัยในจังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeA study of administrators' and teachers' understanding of developmentally appropriate practices in emergent literacy for preschool children in Chonburien
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue3
dc.volume19
dc.year2551
dc.description.abstractalternativeThe research was conducted to study educational administrators' an’ teachers’ understanding of developmentally appropriate practices [DAP] in emergent literacy for pre-school children in Chonburi. This study also examined the relationship between administrators and teachers’ understanding of DAP in emergent literacy for pre=school children. The participants were 196 administrators from educational area offices from the Ministry of Education and the Ministry of Interior, and 392 teachers from public, private and local schools, in Chonburi. The data was collected during the 2007 academic year. All participants undertook a test of DAP in emergent literacy and completed a questionnaire which were analysed by percentage, standard deviation and use of Pearson’a correlation. Test scores revealed that administrators and teachers had a low level of under standing about DAP in emergent literacy. Most administrators understood best, the need for the selection of teachers who had graduated in early childhood education; they understood least, how to encourage teachers to respond to children’s emergent writing behaviors inappropriate ways. Most teachers understood best, the need for a print-rich environment that changes often enough to be fresh and interesting to children and yet remains consistent enough to be predictable and understandable to them ;they understood least, how to respond to children’s emergent writing behaviors but not correcting their invented spelling while children’s arranging letters and relating the letter names to the sounds of words. In considering six aspects of appropriate practice, administrators rated the practices from most to least important as follows: curriculum content should be planned to make meaningful communication, encouraging parents to respond to their children with respect, active listening and acknowledgement of their feelings, encouraging teachers to use children’s assessments to plan for teaching individual children, maintaining frequent, positive, two-way communication with families and communities to share their knowledge to learn and concerns about their children’s emergent development, and offering opportunities for children to learn and practice language skill through working cooperatively. Teachers rated 5 practices as important from most to least important as follows: using assessments to plan for teaching children individually, establishing relationships with families that increase the emergent literacy development of children’s writing and reading, modeling appropriate behaviors for children’s writing and reading, creating a balanced daily schedule for supporting collaboration among teachers’ and child’s initiating, and constructing appropriate curriculum, including a broad of rang of contented to social or cultural values and technological change. According to developmentally inappropriate practices inemergent literacy, finding revealed that most administrators and teachers used inappropriate instructional practices through emphasizing letter recognition and alphabet-oriented skill development and writing assignments out of workbooks. Overall there was a weak, non-significant, positive correlation between administrators’ and teachers’ understanding and practices of DAP in emergent literacy development for children and assisting parents understanding about how to support their children’s progress.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education
dc.page37-52.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
37-52.PDF18.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น