กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2330
ชื่อเรื่อง: การเสริมสร้างค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Value building fo sufficiency economics for elementary level students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา
สังคมศึกษา - - การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
สังคมศึกษา - - การสอนด้วยสื่อ
เศรษฐกิจพอเพียง
สื่อการสอน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างชุดการสอนเพื่อเสริมสร้างค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับ ประถมศึกษา และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้เรียนจากชุดการสอนก่อนและหลังเรียน รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดการสอนของนักเรียน ในโรงเรียนขนาดต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 81 คน แบ่งเป็นนักเรียนของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จำนวน 20 คน โรงเรียนวัดบางเป้ง จำนวน 25 คน และโรงเรียน บ้านแหลมแท่น จำนวน 36 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื้อหาที่นำมาใช้สร้างชุดการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ชุด 3 เรื่อง ได้แก่ การเรียนรู้ตนเอง เศรษฐกิจพอเพียง และการวางแผนการใช้จ่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ (t-test) แบบ Dependent Samples และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One way ANOVA) สรุปผลการศึกษาค้นคว้าปรากฎดังนี้ 1. ชุดการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.05/88.61 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐกิจพิเพียง ของนักเรียนชั้นประชมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ไม่แตกต่างกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2330
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
7-14.PDF9.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น