กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2304
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิรประภา พฤทธิกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาปฐมวัย
การเรียนรู้
จิตตปัญญาศึกษา
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เข้าร่วมการวิจัย กำหนดขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ 2) การนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ ไปใช้จริง และ 3) การนำเสนอผลการวิจัย ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 84 คน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษามีโครงสร้าง ดังนี้ 1) ปรัชญาพื้นฐาน ได้แก่ ความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์และกระบวนทัศน์องค์รวม 2) หลักการพื้นฐาน ได้แก่ การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญการบูรณาการเชื่อมโยงการเรียนรู้ และส่งเสริมบรรยากาศแห่งกัลยาณมิตรและ ความมีอิสระผ่อนคลาย การสร้างความหมายของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานด้วยตนเอง และการส่งเสริมแบบแผนกิจกรรมที่มีจังหวะสม่ำเสมอ 3) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้นิสิตพัฒนาการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) เงื่อนไขของการจัดกระบวนการเรียนรู้ฯ 5) ลักษณะของกิจกรรม ประกอบด้วย การปฏิบัติผ่านความสงบนิ่ง การปฏิบัติผ่านการเคลื่อนไหว การปฏิบัติผ่านกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ การปฏิบัติแบบนักกิจกรรม การปฏิบัติผ่านพิธีกรรมตามประเพณี และ การปฏิบัติผ่านความสัมพันธ์ 6)เนื้อหา ประกอบด้วย เนื้อหาตามรายวิชาและทักษะตามแนวจิตตปัญญาศึกษา 7) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การเตรียมพร้อมกายใจ การรับประสบการณ์ใหม่ และการใคร่ครวญ การเรียนรู้ 8) แนวทางการประเมินผล ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ 9) แนวทางการนำไปใช้ 9) แนวทางการนำไปใช้ และ 10) บทสรุป 2. ผลการเรียนรู้หลังเข้าร่วมกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า 1) ผลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานมี 2 ประการ ได้แก่ 1.1) การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง พบว่า นิสิตได้เรียนรู้การมีสติกับปัจจุบันขณะมีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความเป็นจริงตามธรรมชาติ ได้เรียนรู้วิธีการที่หลากหลายในการพัฒนาตนเอง มีปัญญาในการน้อมสู่ใจอย่างใคร่ครวญ และการพัฒนาการรับรู้รับฟังอย่างลึกซึ้ง 1.2) การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานต่อจิตสำนักส่วนรวม พบว่า นิสิตเกิดการพัฒนาด้านความเข้าใจ ความรัก และความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ มีการเปลี่ยนวิธีคิดมุมมอง และสัมพันธภาพต่อผู้อื่นในทางที่สร้างสรรค์ การมีชุมชนกัลยาณมิตรที่ช่วยที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนพื้นฐานของขอบข่ายรายวิชา และ 2)นิสิตมีค่าร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ทุกคน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2304
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p72-84.pdf5.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น