กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2302
ชื่อเรื่อง: ครอบครัว : ปัจจัยปกป้องหรือผลักดันปัญหายาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Family: Restraining or contributing factors towards adolescents' drug problems in Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปกรณ์ มณีปกรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การติดยาเสพติด
ครอบครัว
ยาเสพติดกับเยาวชน - - ชลบุรี
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง ครอบครัว: ปัจจัยปกป้องหรือผลักดันปัญหายาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและปัจจัยด้านครอบครัวที่นำไปสู่การใช้หรือไม่ใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ปัจจัยปกป้องและผลักดันให้วัยรุ่นใช้หรือไม่ใช้ยาเสพติดในเขตจังหวัดชลบุรี และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมพัฒนาแก้ไขปัญหาการใช้ยาเสพติดในวัยรุ่นโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานสำหรับการพัฒนาแก้ไขปัญหายาเสพติดของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี รูปแบบการวิจัยเขิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 12-19 ปี ในจังหวัดชลบุรี เขตการปกครองที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดสูง จำนวน 446 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ 333 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ 113 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน พร้อมการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อใช้ให้ได้ผลการวิจัยที่ครบถ้วน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นใช้ยาเสพติด คือสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ในครอบครัวที่สร้างความกดดันให้กับวัยรุ่น การใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยในครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัว สถานภาพปัจจุบันของพ่อแม่ และปัญหาด้านการเงินของครอบครัว ส่วนปัจจัยจากตัววัยรุ่นเกี่ยวกับปัญหาตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองและปรึกษาเพื่อน การรับรู้ที่ผิดคิดว่ายาเสพติดลองครั้งเดียวไม่ติดง่ายๆ ยาเสพติดเสพแล้วสบายใจ ใช้เป็นทางออกเวลามีปัญหา มีเพื่อนสนิทเคยใช้ยาเสพติด และยาเสพติดทำให้มีเพื่อนมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. ปัจจัยปกป้องวัยรุ่นจากการใช้ยาเสพติด คือ ความรักและการเอาใจใส่ดูแลการเข้าใจซึ่งกันและะกันของครอบครัว การอยู่พร้อมหน้ากันของครอบครัว การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ส่วนปัจจัยผลักดันคือ การที่คนในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกัน วัยรุ่นถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล ขาดความรักความเข้าใจในครอบครัว เวลามีปัญหาพ่อแมม่ไม่มีเวลาให้คำปรึกษาจึงไปปรึกษาเพื่อนและใช้ยาเสพติดเป็นทางออก ประกอบกับวัยรุ่นเป็นวันที่อยากรู้อยากลองและมีการรับรู้ที่ผิดๆ เกี่ยวกับยาเสพติด 3. การสื่อสารด้วยวาจาและการสัมผัส การให้เวลา การเอาใจใส่ดูแลสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว และการให้คำปรึกษาที่มีเหตุผลโดยไม่มีการดุด่าเป็นสิ่งสำคัญที่ครอบครัวควรปฏิบัติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพยาเสพติดในวัยรุ่น 4. ภาพโปสเตอร์ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่ใช้และไม่ใช้ยาเสพติดสะท้อนความคิดเห็นที่ตรงกันเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นว่าเกิดจากปัญหาภายในครอบครัวโดยเฉพาะสัมพันธภาพในครอบครัวที่ไม่อบอุุ่นและสะท้อนความคิดเห้นว่าครอบครัวสามารถช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดได้หากพ่อแม่มีเวลาอยู่ใกล้ชิดลูก มีการใช้คำพูดและการแสดงออกด้วยความรักความเข้าใจและเป็นแบบอย่างที่ดี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2302
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p239-272.pdf277.17 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น