กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2302
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปกรณ์ มณีปกรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:42Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:42Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2302
dc.description.abstractการวิจัย เรื่อง ครอบครัว: ปัจจัยปกป้องหรือผลักดันปัญหายาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและปัจจัยด้านครอบครัวที่นำไปสู่การใช้หรือไม่ใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ปัจจัยปกป้องและผลักดันให้วัยรุ่นใช้หรือไม่ใช้ยาเสพติดในเขตจังหวัดชลบุรี และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมพัฒนาแก้ไขปัญหาการใช้ยาเสพติดในวัยรุ่นโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานสำหรับการพัฒนาแก้ไขปัญหายาเสพติดของวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี รูปแบบการวิจัยเขิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 12-19 ปี ในจังหวัดชลบุรี เขตการปกครองที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดสูง จำนวน 446 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ 333 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ 113 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน พร้อมการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อใช้ให้ได้ผลการวิจัยที่ครบถ้วน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นใช้ยาเสพติด คือสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ในครอบครัวที่สร้างความกดดันให้กับวัยรุ่น การใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยในครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัว สถานภาพปัจจุบันของพ่อแม่ และปัญหาด้านการเงินของครอบครัว ส่วนปัจจัยจากตัววัยรุ่นเกี่ยวกับปัญหาตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองและปรึกษาเพื่อน การรับรู้ที่ผิดคิดว่ายาเสพติดลองครั้งเดียวไม่ติดง่ายๆ ยาเสพติดเสพแล้วสบายใจ ใช้เป็นทางออกเวลามีปัญหา มีเพื่อนสนิทเคยใช้ยาเสพติด และยาเสพติดทำให้มีเพื่อนมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. ปัจจัยปกป้องวัยรุ่นจากการใช้ยาเสพติด คือ ความรักและการเอาใจใส่ดูแลการเข้าใจซึ่งกันและะกันของครอบครัว การอยู่พร้อมหน้ากันของครอบครัว การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ส่วนปัจจัยผลักดันคือ การที่คนในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกัน วัยรุ่นถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล ขาดความรักความเข้าใจในครอบครัว เวลามีปัญหาพ่อแมม่ไม่มีเวลาให้คำปรึกษาจึงไปปรึกษาเพื่อนและใช้ยาเสพติดเป็นทางออก ประกอบกับวัยรุ่นเป็นวันที่อยากรู้อยากลองและมีการรับรู้ที่ผิดๆ เกี่ยวกับยาเสพติด 3. การสื่อสารด้วยวาจาและการสัมผัส การให้เวลา การเอาใจใส่ดูแลสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว และการให้คำปรึกษาที่มีเหตุผลโดยไม่มีการดุด่าเป็นสิ่งสำคัญที่ครอบครัวควรปฏิบัติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพยาเสพติดในวัยรุ่น 4. ภาพโปสเตอร์ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่ใช้และไม่ใช้ยาเสพติดสะท้อนความคิดเห็นที่ตรงกันเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นว่าเกิดจากปัญหาภายในครอบครัวโดยเฉพาะสัมพันธภาพในครอบครัวที่ไม่อบอุุ่นและสะท้อนความคิดเห้นว่าครอบครัวสามารถช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดได้หากพ่อแม่มีเวลาอยู่ใกล้ชิดลูก มีการใช้คำพูดและการแสดงออกด้วยความรักความเข้าใจและเป็นแบบอย่างที่ดีth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการติดยาเสพติดth_TH
dc.subjectครอบครัวth_TH
dc.subjectยาเสพติดกับเยาวชน - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleครอบครัว : ปัจจัยปกป้องหรือผลักดันปัญหายาเสพติดของวัยรุ่นในเขตจังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeFamily: Restraining or contributing factors towards adolescents' drug problems in Chonburi provinceen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue3
dc.volume3
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeThe reseach aimed at studying and analyzing factors that made families contributing or restraining towards adolescents'drug problems in Chonburi Province Futher, the study was targeted at proposing a strategy for employing families as a crucial catalyst for solving adolescents'drug problems. Qualitative as well as quantitaive data were collected with the target population of this research, namely adolescents of twelve to nineteen years of age in Chonburi provice. Samples were drawn from among two high risk areas within the Chonburi province; data were collected from among a total of 446 individuals (333 for quantitative and 113 for qualitative research). Data analysis were performed with logical content description and descriptive statistics. The findings of the research could be summarized as follows; 1. Causative factors of families towards adolescents'drug problems were related to environment and circumstances within the family, the significant level of the factors is 0.05 namely relations between family members, their marital status and financial problems. Factors typical for adolescents themselves lied in decision-making, peer group pressure and information and misconceptions concerning drugs. The significant level significant level of the factors is 0.01 2. Restraining factors that families exerted towards adolescents'drug problems were love and concern as well as good family relations. On the other hand, contributively factors were intra-family violence, adolescents, isolation, misunderstanding among family members and misconceptions concerning drugs. 3. Good realtion, love and concern, time spent in discussing and counseling to resolve life problems, as well as good verbal and sensory communication among family members were to contribute towards preventing and resolving drug problems. 4. Drawings by the adolescents reflected their perceptions and opinions towards drug problems within the family. A lack of warm relations among family members was perceived as a significant contributing factor while love and concern and spending time together were held essential in restranining adolescents'drug problems.en
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law
dc.page239-272.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p239-272.pdf277.17 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น