กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2279
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
ธร สุนทรายุทธ
สนาน ลิป์เศวตกุล
คุณวุฒิ คนฉลาด
ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2547
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา สภาพสังคมไทยในอนาคต สภาพการศึกษาไทยขั้นพื้นฐานในอนาคต และการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต โดยใช้เทคนิค EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และประสบการณ์ในเรื่องการศึกษานานาชาติ จำนวน 24 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแนวการสัมภาษณ์และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การเก็บข้อมูลดำเนินการ 3 รอบ รอบแรกเป็นการสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสอบถามแล้วนำไปให้ผู้เชียวชาญตอบในรอบที่สองและสาม ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามรอบที่สองและที่สามนำมาหาค่า มัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ด้านสภาพสังคมไทยในอนาคต 1) ด้านประชากร โครงสร้าง ครอบครัวไทยจะเล็กลง มีลักษณะครอบครัวเดี่ยว 2) ด้านศิลปะและวัฒนธรรมส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ 3) ด้านสาธารสุข คนไทยทุกคนในอนาคตมีสุขภาพดีทั้งมิติทางกาย ทางจิต และทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ มีการสร้างเครือข่ายทางการค้า มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดการ ต่อรองกับประเทศ ต่าง ๆ 5) ด้านการเมือง การปกครอง มีการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค และ ท้องถิ่นมากขึ้น 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมถูกทำลายในวงกว้างมากขึ้น 7) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการสมัยใหม่ สภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ในอนาคต 1) ด้านแนวคิดทุกคนต้องได้เรียน เพื่อเป็นพื้นฐานของชีวิต 2) ด้านจุดมุ่งหมายทำให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 3) ด้านการเรียน การสอน หลักสูตร มีหลักสูตรการศึกษา 8 สาขา นำไปเป็นหลักสูตรสถานศึกษา 4) ด้านผู้เรียนมีอิสระการในการเรียนมากขึ้น 5) ผู้สอนต้องพัฒนาตนเอง 6) กระบวนการเรียนการสอน เน้นการศึกษาค้นคว้าทดลอง 7) ด้านสื่อการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 8) การวัดและการประเมินผล ประเมินตามสภาพจริง 9) ด้านการบริหารและการจัดการ ส่วนใหญ่จะสิ้นสุด ที่สถานศึกษา 10) ด้านบทบาทของรัฐและเอกชนในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐ เอกชนจัดเป็นทางเลือกของประชาชน 11) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษามากขึ้น ด้านการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต 1) ด้านแนวคิดเสริมสร้างความเป็นนานาชาติ และความเป็นไทยควบคู่กันไป 2) ด้านจุดมุ่งหมายการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ มีแนวโน้มเน้นคุณภาพการคิดเป็นทำเป็น ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะทางด้านภาษา คอมพิวเตอร์และการเรียนรู้ความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม 3)ด้านหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย มีการยอมรับจากนานาประเทศ เน้นความเป็นสากล เน้นการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง 4) ด้านผู้เรียน มีความหลากหลาย เชื้อชาติ และสัญชาติ 5) ด้านผู้สอน ควรค้นคว้าวิเคราะห์ปัญหาด้านต่างๆมากขึ้น 6) ด้านภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ 7)ด้านสื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ มีระบบให้ใช้ได้ง่าย 8)ด้านเกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียน ควรมีคณะกรรมการของโรงเรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์คัดเลือก นักเรียนเข้าเรียน โดยทำเป็นเกณฑ์กลางที่ชัดเจนของโรงเรียน 9)ด้านการวัดและการประเมินผล ประเมินผลตามสภาพความเป็นจริง 10) ด้านระบบการศึกษาเป็นระบบ 12 ปี 11) ด้านการบริหารงบประมาณเป็นไปตามความเป็นจริงให้อิสระกับโรงเรียนนานาชาติในการบริหารงบประมาณ โดยยกเลิกควบคุมการกำหนด ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ 12)ด้านการบริหารบุคลากร บุคลากรต้องพัฒนาอยู่เสมอ มิฉะนั้น จะกระทบคุณภาพทางวิชาการ 13)ด้านการบริหารอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสถานศึกษาและสถานการณ์ นักเรียนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนอย่างเดียว 14)ด้านคุณภาพของนักเรียนคุณภาพของนักเรียนจะสูงขึ้นเด็กมีการเรียนรู้ที่ทันสมัยกล้าแสดงออก เรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ มากขึ้น มีทักษาที่หลากหลายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมต่างประเทศได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2279
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p65-80.pdf16.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น