กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/226
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรป่าชายเลนลุ่มแม่น้ำเวฬุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of anti-inflammatory activity of medicinal plants from Welu wetland
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การรักษาด้วยสมุนไพร
การอักเสบ
สมุนไพร
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สำมะง่าและเบญจมาศน้ำเค็มเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ในทางการแพทย์พื้นบ้านในแถบลุ่มน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี เพื่อรักษาโรคต่างๆ (เฮกเซน เอทิลอะซิเตท และน้ำ) ของส่วนสกัดเอทานอลของใบสำมะง่าและใบเบญจมาศน้ำเค็มต่อการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจหนู RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วย LPS พบว่าส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของพืชทั้ง 2 ชนิด สามารถยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ดีที่สุดโดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อต่อเซลล์ (ค่า IC(50) เท่ากับ 32.93 ± 3.95 µg/mL และ 54.47 ± 11.01 µg/mL สำหรับสำมะง่าและเบญจมาศน้ำเค็มตามลำดับ) นอกจากนี้ส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทของใบสำมะง่ายังสามารถยับยั้งการแสดงอกกของ mRNA และโปรตีนของเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นรวมทั้งการเคลื่อนที่ของ p65 NF-KB เข้าสู่นิวเคลียสในเซลล์ RAW264.7 ที่กระตุ้นด้วย LPS ยิ่งไปกว่านั้นส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของสำมะง่ายังแสดงฤทธิ์ลดการผลิตโพรสตาแกลนดิน E(2) ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดจากใบสำมะง่าและใบเบญจมาศน้ำเค็มมีคุณสมบัติต้านการอักเสบโดยยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในหลอดทดลอง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/226
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น