กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2235
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียนด้วยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The electricity conservation in classroom building by using movement detector technology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มานพ แจ่มกระจ่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: พลังงานไฟฟ้า - - การอนุรักษ์
พลังงานไฟฟ้า
ไฟฟ้า
อาคารเรียน - - การอนุรักษ์พลังงาน
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2548
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียนด้วยการใช้เทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว ที่อาศัยเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีชื่อว่า พีไออาร์ มูฟเมนต์ ดีเทคเตอร์ (PIR Movement Detector) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (Infrared) ของอาจารย์และนิสิตที่ผ่านเข้ามา แล้วนำไปควบคุมระบบไฟฟ้าของอาคาร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์: 1) เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ตรวจจับ การเคลื่อนไหว และออกแบบระบบวงจรควบคุมการเปิด-ปิดไฟฟ้าอัตโนมัติในอาคาร 2) เพื่อแก้ปัญหาการเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้หลังจากการใช้งานแล้ว 3) เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียน และ 4) เพื่อหาต้นแบบระบบเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหวที่จะนำไปใช้ในฝึกอบรมนิสิตสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการศึกษา และผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้านำไปทำใช้เองได้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำการทดลองที่อาคาร 60 พรรษามหาราชินี 1 (QS1) มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นอาคารเรียนรวมที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนให้กับนิสิตทุกคณะในมหาลัยบูรพาทุกวันตั้งแต่ 8.00 น. จนถึง 20.00 น. ไม่มีวันหยุด ประกอบด้วยห้องเรียนใหญ่ที่จุคนได้ จำนวน 150 คน – 350 คน จำนวน 10 ห้อง คือห้อง 101, 102, 201, 202, 301, 302, 401, 402, 501, และ 502 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 1. สำรวจการเปิด – ปิดไฟฟ้าใช้ทั้ง 10 ห้อง ระหว่างเดือน มกราคม – เดือนกุมภาพันธ์ 2548 2. ออกแบบระบบและทดลองอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวในห้องทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ ของการทำงาน 3. ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวทั้งระบบในห้องเรียน จำนวน 10 ห้องพร้อมสับเปลี่ยน ระบบศูนย์กลางควบคุมไฟฟ้า (Load Center) ที่มีอยู่เดิมเข้ากับระบบใหม่ 4. บันทึกผลการเปิด – ปิดไฟฟ้าในห้องเรียนแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว 5. เปรียบเทียบการใช้กระแสไฟฟ้าของห้องเขียน ก่อนและหลังการติดตั้งระบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ผลการศึกษาพบว่า 1. ได้อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมและวงจรไฟฟ้าที่ทำงานได้ตามต้องการและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอาคารต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันได้ 2. สามารถแก้ปัญหาการเกิดไฟฟ้าทิ้งไว้ในห้องเรียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ 3. สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าในของห้องเรียนที่ควบคุมด้วยระบบตรวจจับการเครื่องไหวได้อย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ 4. ได้ต้นแบบระบบวงจรควบคุมไฟฟ้าอัตโนมัติของห้องเรียน และเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ฝึกอบรมนิสิตสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาและผู้ที่ความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้านำไปทำใช้เอง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2235
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p71-86.pdf1.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น