กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/222
ชื่อเรื่อง: โรคปรสิตและระบบภูมิคุ้มกันในหอยเศรษฐกิจที่เลี้ยงบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Parasites and immunity of marine shellfishes along the East Coast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพรรณี ลีโทชวลิต
จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
นันทิกา คงเจริญพร
นารีรัตน์ ฤทธิรุตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ระบบภูมิคุ้มกัน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
หอย - - การเลี้ยง
โรคเกิดจากปรสิต
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทาง ทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปรสิตและระบบภูมิคุ้มกันในหอยเศรษฐกิจ 5 ชนิดได้แก่ หอยลาย (undulated surf clam, Paphia undulata), หอยนางรมปากจีบ (oyster, Saccostrea sp.), หอยแมลงภู่ (green mussel, Perna viridis), หอยแครง (blood cockle, Anadara granosa), และหอยตลับ (Venus shell, Meretrix casta) ที่เก็บจากชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรีของประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 ในการสำรวจหาปรสิต Perkinsus ทำโดยวิธี Ray's Fluid Thioglycollate medium (RFTM) และศึกษาระบบภูมิคุ้มกันในเลือดของหอย 5 ชนิดได้แก่ ปริมาณของเม็ดเลือดหอย ปริมาณโปรตีน ปริมาณแลคติน และปริมาณไลโซไซม์ จากผลการสำรวจหาปรสิต Perkinsus ในหอยพบว่ามีหอยเพียง 2 ชนิดที่ติดเชื้อปรสิต โดยหอยลายและหอยนางรม พบเซลล์ปรสิตเฉลี่ย ตั้งแต่ 72 ถึง 207,536 และ376 ถึง 6,504เซลล์/ตัว และเมื่อตรวจหาระบบภูมิคุ้มกันในเลือดพบว่ามีความแตกต่างกันไปในหอยแต่ละชนิด โดยพบว่าหอยตลับมีปรืมาณเม็ดเลือดเฉลี่ยสูงสุด หอยลาย หอยนางรม และหอยแมลงภู่พบปริมาณเลือดใกล้เคียงกัน ส่วนในหอยแครงจะพบปริมาณโปรตีนและไลโซไซม์สูงสุด ในขณะที่หอยนางรมมีปริมาณเลค ตินมากที่สุด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/222
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น