กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2217
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอิทธิพลของความรู้จากแหล่งท่องเที่ยว และคุณค่าวัฒนธรรมที่มีต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ความเสี่ยงในการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกศสุดา เหล่าตระกูล
สุรัติ สุพิชญางกูร
สุธาศิณี สุศิวะ
ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว - - ความเสี่ยง
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ - - ชลบุรี
พฤติกรรมผู้บริโภค. นักท่องเที่ยวต่างชาติ
สาขาเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้จากแหล่งท่องเทียว และคุณค่าวัฒนธรรม ที่มีต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ความเสี่ยงในการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาวในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่สามารถอ่าน เขียน และสื่อสารภาอังกฤษได้ จำนวนทั้งสิ้น 435 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบ Mediation effects using multiple regression ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพประเภทตรวจสุขภาพมากที่สุด มีสัญชาติอยู่ในอังกฤษมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 25-34 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มาอาชีพพนักงานองค์กรเอกชนมากที่สุด มีรายได้น้อยกว่า $40,000 และ $ 60,000- $79,999 และมีระยะเวลาในการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวพัทยาหนึ่งสัปดาห์มากที่สุดและนักท่องเที่ยวมีแหล่งความรู้จากแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับคุณค่าวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนนักท่องเที่ยวมีระดับการรับรู้วามเสี่ยงในการเดินทาง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และนักท่องเที่ยวมีระดับการตัดสินใจการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีการท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ เพศ สาถนภาพ การศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้และระยะเวลาในการท่องเที่ยวในพัทยาแตกต่างกัน มีการรับรู้ความเสี่ยงในการเดนทางท่องเที่ยว แตกต่างกัน ความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวด้านประสบการณ์ที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความเสี่ยงในการเดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยวเชิงต่างชาติ การรับรู้ความเสี่ยงในการเดินทางด้านสภาพร่างกายและด้านจิตวิทยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ส่วนความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวไม่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพโดยขึ้นอยู่กับการรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และคุณค่าวัฒนธรรมไม่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพโดยขึ้นอยู่กับการรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ The research had objective to study the influence of knowledge from tourist attractions and cultural values on travel decision in health therapy and rehabilitation tour based on the risk perception of foreign tourists in Pattaya, Chonburi. The sample group consisted of 435 English literate foreign tourists traveling to Thailand with health therapy and rehabilitation tour. Questionnaires were used for data collection. The statistics used for data collection. The statistics used for data analysis consisted of percentage, standard deviation, factor analysis, multiple regressions, and multiple regressions was used for the test of mediation effects and hypotheses. The findings revealed that most of the tourists traveled to Thailand for physical examination. Most of them were British and male tourists. Their age range was 25-34 years and they were single. They had income of less than $40,000 or $60,000- $79,999. Most of them planned to stay in Pattaya for one week. Their level of knowledge gained from the tourist attractions was at the high level. The tourists also put an emphasis on cultural values at the high level. The tourist perceived the travel risk at the moderate level. The mean of their travel decision was at the high level. From the hypothesis testing, it was found that foreign tourists traveling for health therapy and rehabilitation and having different gender, marital status, level of education, occupation, income, and duration of their holiday had difference in the perception of the risk. The pervious knowledge from the tourist attractions was positively correlated with the foreign tourists’ risk perception on health therapy and rehabilitation tour. The risk perception concerning physical and mental condition was positively correlated with the travel decision in health therapy and rehabilitation tour. The knowledge from tourist attractions had no effect on foreign tourists’ travel decision in health therapy and rehabilitation tour. Cultural values had no effect on foreign tourists’ travel decision in health therapy and rehabilitation tour.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2217
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
35-47.pdf4.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น